คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๙๔๑/๒๕๖๑
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันขุดเอาหน้าดินของโจทก์ร่วมซึ่งมีสภาพเป็นดินลูกรังไปเพื่อใช้ในการถมก่อสร้างคันกั้นน้ำ และมีคำขอให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันคืนดิน หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคา เป็นคำฟ้องใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่จะเรียกร้องจากผู้เอาทรัพย์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและติดตามเอาทรัพย์คืนและหากคืนไม่ได้ผู้ที่เอาทรัพย์นั้นไปก็ต้องชดใช้ราคาอันเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ยึดถือโดยไม่มีสิทธิยึดถือ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งมีอายุความ ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันขุดเอาหน้าดินของโจทก์ร่วมซึ่งมีสภาพเป็นดินลูกรังไปเพื่อใช้ในการถมก่อสร้างคันกั้นน้ำ และมีคำขอให้จำเลยทั้งเจ็ดร่วมกันคืนดิน หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคา เป็นคำฟ้องใช้สิทธิเรียกร้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในตัวทรัพย์ที่จะเรียกร้องจากผู้เอาทรัพย์ไปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและติดตามเอาทรัพย์คืนและหากคืนไม่ได้ผู้ที่เอาทรัพย์นั้นไปก็ต้องชดใช้ราคาอันเป็นการใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๓๓๖ ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาคืนทรัพย์สินจากผู้ยึดถือโดยไม่มีสิทธิยึดถือ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดซึ่งมีอายุความ ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๔๔๘ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
โจทก์บรรยายฟ้องและมีคำขอท้ายฟ้องว่า
โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืน หากคืนไม่ได้ให้ชดใช้ราคา
เช่นนี้คำฟ้องและคำขอจึงเป็นเรื่องการให้คืนทรัพย์หรือชดใช้ราคา
ไม่ใช่เรื่องการบรรยายฟ้องและคำขอเรื่องค่าเสียหาย
จึงไม่มีประเด็นเรื่องของค่าเสียหายที่จะต้องวินิจฉัยและการชดใช้ราคาจะต้องกำหนดตามราคาของทรัพย์คือราคาซื้อขายดินลูกรังที่เป็นอยู่ในขณะเกิดเหตุนั้น
ไม่ใช่การกำหนดค่าเสียหายที่อาจจะมีมากกว่าการกำหนดเฉพาะราคา
ข้อเท็จจริง
โจทก์ คือสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยที่ ๑
เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ
จำเลยที่ ๕ ถึงที่ ๗ เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ ๑
จำเลยที่ ๑ ตกลงซื้อหน้าดินของ จ.
และทำสัญญาซื้อขายดินถมกับสัญญาให้ปรับสภาพที่ดินของ อ. กับ ด. โดยจำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำหน้าดินที่ได้ไปถมในการก่อสร้างโครงการก่อสร้างคันกั้นน้ำ
จำเลยที่ ๕ ถึงที่ ๗
ร่วมกันใช้รถขุดตัก ๓ คัน บุกรุก
รุกล้ำเข้าไปในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโจทก์
โจทก์มีคำขอในฟ้องให้จำเลยทั้งเจ็ดคืนดินลูกรังหรือใช้ราคา
จำเลยเอาเนื้อดินของโจทก์ไปจำนวนปริมาตรรวม
๑๐๘,๙๗๖ ลูกบาศก์เมตร
ศาลฎีกากำหนดให้ชดใช้ราคาตามราคาในขณะนั้น
คือ ลูกบาศก์เมตรละ ๑๕ บาท
เพิ่มเติม
อำนาจติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของผู้ทรงกรรมสิทธิ์
หมายถึง ผู้ทรงกรรมสิทธิ์มีสิทธิติดตามเอาทรัพย์สินของตน จากบุคคลที่ไม่มีสิทธิยึดถือไว้
โจทก์ฟ้องเรียกเรือนครัวคืนจากจำเลย
เมื่อได้ความว่าเรือนครัวนั้นจำเลยยกให้โจทก์แล้ว ปัญหาที่เกี่ยวกับอายุความต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๓๓๖ เพราะเป็นการติดตามเอาทรัพย์ของตนคืน(ฎีกาที่ ๔๒๔/๒๔๙๙)
การฟ้องเรียกทรัพย์คืนนั้น
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้คืนทรัพย์หรือใช่ราคาย่อมต้องถือว่าเป็นการฟ้องเรียกตัวทรัพย์หรือติดตามตัวทรัพย์ไม่ใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย
เพราะหากโจทก์ไม่ขอให้ใช้ราคามาด้วย เมื่อโจทก์ชนะคดีแล้ว ทรัพย์สินไม่มีอยู่หรือมิอาจคืนได้
โจทก์จะไม่มีทางบังคับเอากับจำเลยได้(ฎีกาที่ ๑๒๕๑/๒๕๐๔ ประชุมใหญ่)
โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินเมื่อจำเลยขุดเอาดินไปโดยไม่มีสิทธิ
โจทก์ย่อมฟ้องบังคับให้จำเลยนำดินที่ขุดไปนั้นคืนมา หรือขอให้จำเลยชดใช้ราคาได้ เมื่อโจทก์ฟ้องว่าจำเลยขุดดินของโจทก์ไปขายให้แก่บุคคลอื่นแล้ว
โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยใช้ราคาดินดังกล่าวแก่โจทก์ได้ เป็นการใช้สิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนตามมาตรา
๑๓๓๖ มิใช่ฟ้องเรียกค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา ๔๔๘(ฎีกาที่ ๑๗๖๐/๒๕๔๘)
อ้างอิง
มานิตย์ จุมปา. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์สิน
พิมพ์ครั้งที่ ๘ ฉบับปรับปรุงแก้ไข. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
๒๕๕๖.
สมจิตร์ ทองศรี. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยทรัพย์
พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,
๒๕๕๙.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๒๐ ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี
อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี
ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
มาตรา ๔๓๘ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น
ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
อนึ่ง ค่าสินไหมทดแทนนั้น
ได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิด
หรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้น
รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ
อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
มาตรา ๔๔๘ สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดนั้น ท่านว่าขาดอายุความเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันที่ผู้ต้องเสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่วันทำละเมิด
แต่ถ้าเรียกร้องค่าเสียหายในมูลอันเป็นความผิดมีโทษตามกฎหมายลักษณะอาญา
และมีกำหนดอายุความทางอาญายาวกว่าที่กล่าวมานั้นไซร้
ท่านให้เอาอายุความที่ยาวกว่านั้นมาบังคับ
มาตรา ๑๓๓๖ ภายในบังคับแห่งกฎหมาย
เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอยและจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น
กับทั้งมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้
และมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
0 Comments
แสดงความคิดเห็น