จำเลยที่ ๒ ใช้ตำแหน่งเป็นหลักประกันในการที่ชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ในคดีอาญาต่อศาลโดยมีโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่
๒ จะนำตัวจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวมาส่งต่อศาลทุกนัด หากไม่มาถือว่าผิดสัญญาประกันต่อศาลและยินยอมชดใช้เงินจำนวนหนึ่งก็ตาม
ซึ่งในวันตามสัญญาประกันจำเลยที่ ๒ ยังไม่มีความรับผิดที่จะต้องชำระเงินตามสัญญาประกันจึงยังมิได้เป็นหนี้เงินตามสัญญาและไม่ใช่สัญญาก่อให้เกิดหนี้เงินที่ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
หรือมีเงื่อนไข หากแต่เป็นสัญญาที่ก่อให้เกิดหนี้กระทำการระหว่างจำเลยที่ ๒
ที่มีหน้าที่จะนำตัวจำเลยในคดีอาญามาส่งศาลภายในระยะเวลาตามสัญญาซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินหรือกิจการของจำเลยที่
๒
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านจึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติหรือจัดการแทนจำเลยที่
๒ ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๒๒(๑) ผู้ร้องไม่อาจเรียกให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาประกันที่จะต้องนำจำเลยในคดีอาญามาส่งศาลได้
ภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่
๒ เด็ดขาด ศาลในคดีอาญามีคำสั่งปรับจำเลยที่ ๒ ตามสัญญาประกันที่จำเลยที่ ๒ ไม่นำตัวจำเลยในคดีอาญามาส่งศาล
หนี้ค่าปรับเป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ ๒
ต้องรับผิดต่อผู้ร้องแต่เป็นหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของเจ้าหน้าที่
๒ เด็ดขาด ซึ่งเป็นหนี้ที่ไม่อาจบังคับแต่กองทรัพย์สินของเจ้าหน้าที่ ๒
ในคดีล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. ๒๔๘๓ มาตรา ๙๔ ผู้ร้องไม่อาจเรียกให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาโดยการชำระค่าปรับแก่ผู้ร้องได้
และชอบที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยที่ ๒ ที่ได้มาภายหลังเวลาที่จำเลยที่ ๒
พ้นจากล้มละลายแล้ว
เพิ่มเติม
หนี้เงินที่จะขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายได้จะต้องเป็นหนี้เงินในทางแพ่ง
หนี้ค่าปรับเนื่องจากกระทำผิดอาญาไม่ใช่หนี้ในทางแพ่ง จึงไม่อยู่ในบังคับของ
พ.ร.บ.ล้มละลาย ซึ่งจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้(ฎีกาที่ ๑๕๑๗/๒๕๒๕, ๕๒๕๒/๒๕๕๙)
หนี้กระทำการ งดเว้นการกระทำ
และส่งมอบทรัพย์สิน เจ้าหนี้จะมาขอชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้
อ้างอิง
เอื้อน ขุนแก้ว. คู่มือการศึกษากฎหมายล้มละลาย
พิมพ์ครั้งที่ ๑๕. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงสยามพับลิชชิ่ง,
๒๕๖๑.
ข้อเท็จจริง
เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ จำเลยที่
๒ ใช้ตำแหน่งทนายความจดทะเบียนและรับใบอนุญาต ๕ ปีขึ้นไป เป็นหลักประกันในการยื่นร้องขอปล่อยชั่วคราวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์
โดยมีข้อตกลงว่าจำเลยที่ ๒ จะนำตัวจำเลยในคดีอาญาดังกล่าวมาส่งต่อศาลทุกนัด หากไม่มาถือว่าผิดสัญญาประกันต่อศาลและยินยอมชดใช้เงินจำนวน
๑๕๐,๐๐๐ บาท
๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๒
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งทรัพย์เด็ดขาดจำเลยที่ ๒
ต่อมาวันที่ ๒๒ กันยายน ๒๕๕๒
ศาลชั้นต้นฟังคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค ๑
แต่จำเลยในคดีอาญาดังกล่าวไม่มาศาลศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งปรับจำเลยที่ ๒ จำนวน ๑๕๐,๐๐๐ บาท
๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๖ ผู้ร้อง(ผู้อำนายการประจำศาล)ยื่นคำร้องให้ผู้คัดค้าน(เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์)ปฏิบัติตามสัญญาประกันการปล่อยชั่วคราวที่ลูกหนี้ที่
๒ (จำเลยที่ ๒)ทำไว้ต่อศาลชั้นต้น ผู้คัดค้านสอบสวนแล้วมีคำสั่งยกคำร้อง
ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายละกลางโดยสรุปว่า
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาประกันการปล่อยชั่วคราวและชำระค่าปรับตามสัญญาแต่ผู้คัดค้านวินิจฉัยว่าหนี้ค่าปรับเป็นหนี้ที่ผู้ร้องต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
มิใช่กรณีมาร้องขอให้ผู้การปฏิบัติตามสัญญา จึงมีคำสั่งยกคำร้อง
ผู้ร้องเห็นว่าคำสั่งและคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านไม่ถูกต้อง
ขอให้มีคำสั่งกลับคำสั่งของผู้คัดค้านและมีคำสั่งให้ผู้คัดค้านชำระหนี้ค่าปรับของจำเลยที่
๒ แก่ผู้ร้อง
ผู้คัดค้านยื่นคำคัดค้านว่า
สัญญาประกันการปล่อยชั่วคราวในคดีอาญามีหนี้ที่จำเลยที่ ๒
ต้องปฏิบัติแยกเป็นสองส่วน ในส่วนแรกเรื่องการที่ต้องนำตัวผู้ถูกปล่อยชั่วคราวมาส่งศาลนั้นเป็นเรื่องเฉพาะตัวของจำนวนที่
๒ ที่จะต้องปฏิบัติตามสัญญา ผู้คัดค้านจึงไม่มีอำนาจไปทำการแทนจำเลยที่ ๒ ได้ ส่วนที่สองเป็นการชำระเงินเมื่อไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาในส่วนแรกนั้น
หากผู้ร้องต้องการได้รับชำระหนี้เงินนี้จะกองทรัพย์สินของจำเลยที่ ๒ ผู้ร้องต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้
ดังนั้น กรณีตามสัญญาประกันการปล่อยชั่วคราวในคดีอาญาจึงมิใช่กรณีที่จะขอให้ผู้คัดค้านปฏิบัติตามสัญญาได้
คำสั่งและคำวินิจฉัยของผู้คัดค้านจึงชอบแล้ว ขอให้ยกคำร้อง
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งยกคำร้อง
ค่าฤชาธรรมเนียมให้เป็นพับ
ผู้ร้องอุทธรณ์ต่อศาลฎีกา
ศาลฎีกาพิพากษายืน ค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นนี้ให้เป็นพับ
พระราชบัญญัติล้มละลาย
พ.ศ.๒๔๘๓
มาตรา ๒๒เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ของลูกหนี้แล้วเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจดังต่อไปนี้
(๑) จัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้
หรือกระทำการที่จำเป็นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ที่ค้างอยู่เสร็จสิ้นไป
(๒) เก็บรวบรวมและรับเงิน
หรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่ลูกหนี้ หรือซึ่งลูกหนี้มีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
(๓) ประนีประนอมยอมความ
หรือฟ้องร้อง หรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้
มาตรา ๙๔ เจ้าหนี้ไม่มีประกันอาจขอรับชำระหนี้ได้
ถ้ามูลแห่งหนี้ได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
แม้ว่าหนี้นั้นยังไม่ถึงกำหนดชำระหรือมีเงื่อนไขก็ตาม เว้นแต่
(๑) หนี้ที่เกิดขึ้นโดยฝ่าฝืนข้อห้ามตามกฎหมาย
หรือศีลธรรมอันดีหรือหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้
(๒)หนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้ลูกหนี้กระทำขึ้นเมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการที่ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว
แต่ไม่รวมถึงหนี้ที่เจ้าหนี้ยอมให้กระทำขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดำเนินต่อไปได้
มาตรา ๑๒๒ ภายในกำหนดเวลาสามเดือนนับแต่วันที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบว่า
ทรัพย์สินของลูกหนี้หรือสิทธิตามสัญญามีภาระเกินควรกว่าประโยชน์ที่จะพึงได้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจไม่ยอมรับทรัพย์สินหรือสิทธิตามสัญญานั้นได้
บุคคลใดได้รับความเสียหายโดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับดังกล่าว
มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น