เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน
๒๕๕๓ ขณะนั้นโจทก์ยังเป็นผู้เยาว์มีอายุเพียง ๑๓ ปี แม้อายุความ ๑ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๔๘ จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำละเมิดก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าในวันที่ครบกำหนด
๑ ปี โจทย์มีอายุเพียง ๑๔ ปี ยังเป็นผู้เยาว์อยู่ และโจทก์ไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมเนื่องจากมารดาโจทก์ถึงแก่ความตายเพราะเหตุละเมิดคดีนี้
อายุความ ๑ ปี จึงยังไม่คบจนกว่าจะครบ ๑
ปีนับแต่วันที่โจทก์ได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๒๐ ปรากฏว่าเมื่อวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๕ ศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดชลบุรีมีคำสั่งตั้ง
จ. ซึ่งเป็นยายของโจทก์เป็นผู้ปกครองตามกฎหมาย อายุความ ๑ ปี
จึงนับตั้งแต่วันที่โจทก์มีผู้ปกครอง เมื่อโจทก์ฟ้องคดีวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๖
ยังไม่เกิน ๑ ปี คดีโจทก์สำหรับจำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๔ จึงไม่ขาดอายุความ
เพิ่มเติม
อายุความสิทธิเรียกร้อง การขยายอายุความในกรณีนี้มีเหตุผลมาจากการพิจารณาถึงหลักในเรื่องความสามารถของบุคคล
กล่าวคือ กฎหมายเล็งเห็นว่า ผู้เยาว์บุคคลวิกลจริต คนไร้ความสามารถนั้นเป็นผู้ที่หย่อนความสามารถหรือมีความสามารถจำกัดไม่สามารถที่จะดูแลระมัดระวังรักษาผลประโยชน์ส่วนได้เสียของตนได้อย่างเต็มที่โดยลำพัง
การขยายอายุความตามมาตรา ๑๙๓/๒๐ นี้ใช้ได้กับการขยายอายุความในทางแพ่งล้วนๆเท่านั้น
หากเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาไม่ว่าผู้ไร้ความสามารถจะขาดผู้แทนโดยชอบธรรมก็ไม่สามารถขยายอายุความตามมาตรานี้ได้ทั้งนี้เพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๕๑ วรรคแรก
ฎีกาที่ ๒๔๙๙/๒๕๒๔ จำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๘
ดังนี้ การนับระยะเวลาจะนับวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๘ ซึ่งเป็นวันแรก คำนวณเข้าในอายุความ
๑ ปีด้วยไม่ได้ เพราะมิได้มีการเริ่มอะไรในวันนั้น จะต้องเริ่มนับตั้งแต่วันที่ ๒๑
พฤษภาคม ๒๕๑๘ โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๑๙ อันเป็นวันสุดท้ายที่จะครบ ๑
ปี คดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
อ้างอิง
กำชัย
จงจักรพันธ์. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยระยะเวลาและอายุความ
พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โรงพิมพ์เดือนตุลา,
๒๕๕๘.
ประเสริฐ
เสียงสุทธิวงศ์. การกำหนดอายุความในคดีแพ่ง
พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์นิติบรรณการ,
๒๕๕๗.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๙๓/๒๐ อายุความสิทธิเรียกร้องของผู้เยาว์หรือบุคคลวิกลจริตอันศาลจะสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ก็ตาม
ถ้าจะครบกำหนดในขณะที่บุคคลดังกล่าวยังไม่รู้ถึงความสามารถเต็มภูมิ หรือในระหว่างหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลดังกล่าวไม่มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล
อายุความนั้นยังไม่ครบกำหนดจนกว่าจะครบหนึ่งปีนับแต่วันที่บุคคลนั้นได้รู้ถึงความสามารถเต็มภูมิ
หรือได้มีผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาลแล้วแต่กรณี แต่ถ้าอายุความสิทธิเรียกร้องนั้นมีระยะเวลาน้อยกว่าหนึ่งปีก็ให้นำกำหนดระยะเวลาที่สั้นกว่านั้นมาใช้แทนกำหนดระยะเวลาหนึ่งปีดังกล่าว
0 Comments
แสดงความคิดเห็น