โจทก์บรรยายฟ้องอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาท
โดยที่ดินดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของ จ. มารดาโจทก์ต่อมาเมื่อ จ. มาอยู่กินกับ ช. ปู่ของจำเลย
จ.ให้ใส่ชื่อ ช. ในฐานะผู้มีสิทธิครอบครองไว้แทน จ. เมื่อที่ดินพิพาทเปลี่ยนเป็นโฉนดที่ดินยังคงมีชื่อ
ช. เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แทนการเช่นเดิม เมื่อ ช. ถึงแก่ความตาย ว. บิดาของจำเลยซึ่งเป็นบุตรของ
จ. กับ ช. ย้ายไปทำงานที่อื่นและต่อมาถึงแก่ความตาย
จำเลยและมารดาจำเลยย้ายไปอยู่ที่อื่นโดยไม่เคยเข้ามาเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทแต่อย่างใด
แต่โจทก์กับบรรยายฟ้องต่อไปว่า โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของที่ดินติดต่อกันมาเป็นเวลาเกินกว่า
๑๐ ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ คำฟ้องในส่วนนี้ของโจทก์ขัดแย้งกับคำฟ้องในส่วนแรกที่ยืนยันว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์
เพราะการครอบครองปรปักษ์จะมีได้ก็แต่ในที่ดินของผู้อื่นเท่านั้น คดีจึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่
ที่ศาลชั้นต้นพิจารณาประเด็นดังกล่าวแล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์จึงไม่ชอบ
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาตามคำฟ้องโจทก์ที่อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์และจำเลยให้การปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยสิ้นเชิง
จึงยังมีประเด็นที่เป็นข้อพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทหรือไม่
เพิ่มเติม
ประเด็นข้อพิพาทย่อมเกิดจากคำฟ้องและคำให้การที่ปฏิเสธคำฟ้องของโจทก์โดยชัดแจ้งรวมทั้งเหตุแห่งการนั้น
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๗ วรรคสอง
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทในคดี ศาลต้องพิจารณาจากคำฟ้อง
คำให้การ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ไม่ใช่พิจารณาจากคำฟ้องและคำให้การเท่านั้น(ฎีกาที่ ๖๙๒๕/๒๕๖๐)
โจทก์บรรยายฟ้องไม่ถูกต้องตามมาตรา
๑๗๒ วรรคสอง ถือว่าเป็นฟ้องเคลือบคลุม แต่จำเลยต้องให้การต่อสู้ชัดเจนว่าควบคุมอย่างไร
มิฉะนั้นไม่มีประเด็นว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่
ฟ้องเคลือบคลุมนอกจากจะมีสาเหตุเนื่องจากไม่เข้าใจ
เพราะว่าไม่มีรายละเอียดพอทำให้จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ถูกต้องดังกล่าวแล้ว ยังอาจเป็นเพราะว่าคำฟ้องนั้นขัดกันเอง
ไม่อาจฟังเป็นแน่นอนในทางใดทางหนึ่งได้ด้วย
จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า จำเลยและ
พ. เจ้ามรดกได้ร่วมกันซื้อที่ดินจาก ช. โดยออกเงินกันคนละครึ่ง ที่ดินจึงเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยครึ่งหนึ่ง
ส่วนอีกครึ่งหนึ่งจำเลยได้ครอบครองโดยมีเจตนาที่ถือเพื่อตนตั้งแต่ปี ๒๕๒๒ จนได้กรรมสิทธิ์ตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๘๒ แสดงว่าจำเลยฟ้องเรียกที่ดินพิพาทเป็นของตนในฐานะเจ้าของร่วมครึ่งหนึ่งและครอบครองปรปักษ์อีกครึ่งหนึ่ง
ถึงแม้คำขอท้ายฟ้องแย้งจำเลยจะขอให้พิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองปรปักษ์
ก็มีความหมายว่าที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยครึ่งหนึ่งและอีกครึ่งหนึ่งจำนวนครอบครองปรปักษ์
ประกอบกับโจทก์สามารถนำสืบต่อสู้คดีได้ ฟ้องแย้งของจำเลยได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ
ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๗๒ วรรคสอง แล้ว ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่เคลือบคลุม
( ฎีกาที่ ๖๖๐๗/๒๕๔๖)
อ้างอิง
ไพโรจน์ วายุภาพ. คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๒ ลักษณะ ๑
วิธีพิจารณาสามัญในศาลชั้นต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖ แก้ไขเพิ่มเติม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์กรุงสยามพับลิชชิ่ง, ๒๕๕๖.
วิชัย ตันติกุลานันท์. คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและพยานภาคพิสดาร:
เทคนิคการต่อสู้คดีแพ่ง เรื่องการชี้สองสถานวิธีดำเนินคดีแพ่งในศาลชั้นต้นที่ต้องรู้
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนจำกัดพิมพ์อักษร, ๒๕๕๔.
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๑๗๒ ภายใต้บังคับบทบัญญัติมาตรา
๕๗ ให้โจทก์เสนอข้อหาของตนโดยทำเป็นคำฟ้องเป็นหนังสือยื่นต่อศาลชั้นต้น
คำฟ้องต้องแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้น
ให้ศาลตรวจคำฟ้องนั้นแล้วสั่งให้รับไว้
หรือให้ยกเสีย หรือให้คืนไป ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๘
0 Comments
แสดงความคิดเห็น