วันเกิดเหตุ ช่วงเช้า ร้อยตำรวจโท
ส. และร้อยตำรวจตรี ศ. ร่วมกันจับกุม อ. ค. และ ธ. ในข้อหาเสพเมทแอมเฟตามีนและผู้ต้องหาทั้งสาม
ให้การว่าได้รับเมทแอมเฟตามีนมาจากจำเลยที่ ๑ ซึ่งเช่าห้องพักอยู่ที่ห้องพักที่เกิดเหตุ
หลังจากประสานกับทางผู้ดูแลรีสอร์ตจนเป็นที่แน่ใจว่าข้อมูลที่ได้จากผู้เสพทั้งสามถูกต้องแล้วจึงเข้าตรวจค้นห้องพักของจำเลยที่
๑ ทันที ดังนี้ พยานโจทก์ทั้งสองไปตรวจค้นห้องพักดังกล่าวเพราะน่าเชื่อว่าจะพบเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นสิ่งของที่มีไว้เป็นความผิด
ทั้งที่เกิดเหตุเป็นรีสอร์ตซึ่งจำเลยทั้งสองพักชั่วคราว หากเดินช้าไปกว่าได้หมายค้นจำเลยทั้งสองอาจจะนำเมทแอมเฟตามีนออกไปจากรีสอร์ตเมื่อใดก็ได้
จึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ทำให้พยานโจทก์ทั้งสองกับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจเข้าไปค้นในห้องพักโดยไม่จำต้องมีหมายค้นตาม
ป.วิ.อ.มาตรา ๙๒(๔) และมาตรา ๙๖(๒) ประกอบพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.๒๕๕๐
มาตรา ๓ และเมื่อพยานโจทก์ทั้งสองกับพวกตรวจค้นพบเมทแอมเฟตามีนของกลาง ๓ เม็ด ที่จำเลยที่
๒ และค้นพบเมทแอมเฟตามีน ๕๕๔ เม็ด ภายในห้อง ซึ่งจำเลยที่ ๑ ยอมรับว่าเป็นของตนอันเป็นความผิดซึ่งหน้า
พยานโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าพนักงานจึงมีอำนาจจับจำเลยทั้งสองได้ตามอำนาจหน้าที่โดยไม่ต้องมีหมายจับตาม
ป.วิ.อ. มาตรา ๗๘(๑), ๘๐ ประกอบ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดียาเสพติด พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๓ การตรวจค้นและจับกุมในกรณีนี้จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมาย
เพิ่มเติม
กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ตาม ป.วิ.อ.มาตรา
๙๖(๒) ศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ได้ทำบันทึกไว้ท้ายฎีกาที่ ๖๗๕/๒๔๘๓ ว่า คำว่า
“กรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง”
เราทราบไม่ได้ว่าหมายความว่าอย่างไรแน่เราพอแต่รู้ได้เป็นเลา ๆ
และเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป ซึ่งฎีกาที่ ๔๓๑๖/๒๕๖๐ วินิจฉัยว่า
ที่เกิดเหตุเป็นรีสอร์ตซึ่งจำเลยทั้งสองพักชั่วคราว
หากเดินช้าไปกว่าได้หมายค้นจำเลยทั้งสองอาจจะนำเมทแอมเฟตามีนออกไปจากรีสอร์ตเมื่อใดก็ได้
จึงเป็นกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง ดังนั้น เจ้าพนักงานตำรวจมีอำนาจเข้าไปค้นในห้องพักโดยไม่จำต้องมีหมายค้น
มาตรา ๙๖ บัญญัติว่า “การค้นในที่รโหฐานต้องกระทำระหว่างพระอาทิตย์ขึ้นและตก
มีข้อยกเว้นดังนี้
(๒) ในกรณีฉุกเฉินอย่างยิ่ง หรือซึ่งมีกฎหมายอื่นบัญญัติให้ค้นได้เป็นพิเศษ
จะทำการค้นในเวลากลางคืนก็ได้”
อ้างอิง
เกียรติขจร
วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาว่าด้วย
การดำเนินคดีในขั้นตอนก่อนการพิจารณา พิมพ์ครั้งที่ ๗ แก้ไขเพิ่มเติม.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พลสยาม พริ้นติ้ง,
๒๕๕๓.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น