บันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีมีข้อความว่า
โจทก์กับจำเลยเป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ประสงค์อยู่กินกันต่อไปจึงได้ตกลง
ดังนี้ ๒.ในเรื่องการหย่านั้น ฝ่ายหญิงจะดำเนินการฟ้องหย่าตามกฎหมายต่อไป
โดยมีโจทก์ จำเลย พนักงานสอบสวน
และเจ้าพนักงานตำรวจอีกนายหนึ่งลงลายมือชื่อไว้บันทึกดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยโดยตรง
มีข้อความชัดเจนว่า ทั้งสองไม่ประสงค์อยู่กินกันต่อไป คือ
ต้องการแยกทางกันหรือหย่ากันนั่นเอง แม้มีข้อความในข้อ ๒ ว่า ฝ่ายหญิง
คือโจทก์จะไปดำเนินการฟ้องหย่าตามกฎหมายต่อไปก็เป็นความเข้าใจของทั้งสองฝ่ายว่าจะต้องไปดำเนินการฟ้องหย่าต่อกันเท่านั้น
ข้อความดังกล่าวมิได้ลบล้างเจตนาที่แท้จริงของโจทก์ทั้งสองและจำเลยที่ไม่ประสงค์จะอยู่กินกันต่อไปแต่อย่างใด
ดังนั้น บันทึกดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นข้อตกลงที่โจทก์จำเลยประสงค์จะหย่ากัน ตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๑๕๑๔
พนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานตำรวจที่ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้เขียนบันทึกเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติตามหน้าที่
ได้รับรู้ข้อตกลงระหว่างโจทก์จำเลยตามข้อความในบันทึกดังกล่าว
ถือได้ว่าคนทั้งสองได้ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะพยานผู้ทำบันทึกแล้วจึงถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมาย
เพิ่มเติม
การหย่ามี ๒ กรณี คือ
หย่าโดยความยินยอมทั้งสองฝ่าย กับ การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล
การหย่าโดยความยินยอม ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานสองคน
เหตุที่ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคนก็เพื่อให้เป็นการแน่นอนว่าสามีภริยาได้ตั้งใจหย่าขาดกันจริง
ๆ มิใช่เพียงแต่พูดกันด้วยความโมโหเท่านั้น
พยานสองคน แม้จะมีพยานคนเดียว แต่มีผู้ทำบันทึกอีกคนหนึ่งโดยไม่มีคำว่าพยานกำกับไว้
ก็ถือว่าผู้ทำบันทึกเป็นพยานด้วย ดูฎีกาที่ ๓๑๙๐/๒๕๓๓
ฎีกาที่ ๓๑๙๐/๒๕๓๓
ตำรวจลงลายมือชื่อในบันทึกข้อตกลงในการหย่า ถือว่าเป็นพยานด้วย
อ้างอิง
ประสพสุข
บุญเดช. รวมคำบรรยาย ภาคหนึ่ง สมัยที่ ๖๙ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ เล่มที่ ๑๐.
จัดพิมพ์โดยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, ๒๕๕๙.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๕๑๔ การหย่านั้นจะทำได้แต่โดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายหรือโดยคำพิพากษาของศาล
การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อยสองคน
0 Comments
แสดงความคิดเห็น