คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า จำเลยกระทำความผิดหลายกรรมต่างกันคือ
ชิงทรัพย์กรรมหนึ่ง แล้วจึงทำร้ายร่างกายผู้เสียหายอีกกรรมหนึ่ง โจทก์หาได้บรรยายคำฟ้องว่าจำเลยชิงทรัพย์ผู้เสียหายเป็นเหตุให้ผู้เสียหายรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจไม่
คำฟ้องของโจทก์เพียงแต่บรรยายว่าจำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหายโดยมีอาวุธอันเป็นความผิดตาม
ป.อ.มาตรา ๓๓๙ วรรคสอง เท่านั้น จึงลงโทษจำเลยตาม ป.อ.มาตรา ๓๓๙ วรรคสาม ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้อง
ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
แม้จำเลยจะมิได้หยิบยกปัญหาข้อนี้ขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา
๑๙๕ วรรคสองประกอบมาตรา ๒๒๕
เพิ่มเติม
โจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายในฟ้องถึงองค์ประกอบความผิด
แม้จะมีคำขอท้ายฟ้องให้ลงโทษและจำเลยให้การรับสารภาพ
ก็พิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้(ฎีกาที่ ๑๕๗๒๖/๒๕๕๗, ๑๓๐๙๐/๒๕๕๗) คดีที่จำเลยให้การรับสารภาพโดยไม่มีการสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ
ศาลจะฟังว่าเป็นการรับสารภาพเราะจำนนต่อพยานหลักฐานไม่ได้(ฎีกาที่ ๑๐๗๖๖/๒๕๕๑)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๙๒ วรรคหนึ่ง ห้ามมิให้พิพากษา
หรือสั่ง เกินคำขอ หรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๓๙ ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย
หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(๑)
ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น
หรือ
(๕) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา
๓๓๕ หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ
เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี
และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสามแสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายสาหัส
ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท
ถ้าการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
0 Comments
แสดงความคิดเห็น