ป.อ.มาตรา ๓๓(๑) เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ศาลในการลงโทษริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้ใช้ในการกระทำความผิด
อันเป็นเรื่องที่อยู่ในดุลพินิจของศาล ทั้งนี้กฎหมายมีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้น
ๆ โดยตรง เป็นทรัพย์สินที่ต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิด
การที่จำเลยขับรถตู้ของกลางไปตามถนนสาธารณะ
เมื่อถึงบริเวณที่เกิดเหตุจำเลยขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวในลักษณะกีดขวางการจราจร
และไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ด้วยการขับรถแซงรถอื่นทางด้านซ้ายแล้วประกบรถอื่นที่แล่นอยู่บนถนนดังกล่าวมาทางด้านซ้ายในลักษณะเบียดประชิด
เมื่อผ่านพ้นไปได้จำเลยห้ามล้อรถทันทีในลักษณะประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน
จากนั้นจำเลยเปลี่ยนช่องเดินรถเข้าไปในช่องทางเดินรถของรถอื่นซึ่งขับอยู่ในระยะกระชั้นชิด
และห้ามล้อในทันทีในลักษณะกีดขวางการจราจร จนรถยนต์ของ ส. ผู้เสียหาย ที่ได้แล่นอยู่ในช่องเดินรถเดียวกันทางด้านหลังของรถที่จำเลยขับไม่สามารถแล่นตรงไปข้างหน้าตามปกติได้
จำเลยกระทำการดังกล่าวโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น จากนั้นจำเลยใช้สิ่งเทียมอาวุธปืนที่จำเลยมีและถือในมือโดยเปิดเผยเดินตรงมายังรถยนต์ของผู้เสียหายซึ่งไม่สามารถแล่นต่อไปได้จากการที่จำเลยขับรถกีดขวางและต้องจอดอยู่บนทางสาธารณะช่องเดินรถ
แล้วจะมาพูดขู่เข็ญผู้เสียหายว่า “เดี๋ยวโป้ง” ซึ่งหมายความว่า จะใช้จะใช้วัตถุที่ถือมาในมือยิงประทุษร้ายผู้เสียหายให้ได้รับอันตรายแก่ร่างกายหรือชีวิต
จนเป็นเหตุให้ผู้เสียหายเกิดความกลัวและความตกใจ เมื่อพิจารณาถึงพฤติการณ์ของจำเลยโดยตลอดแล้ว
นอกจากสิ่งเทียมอาวุธปืนซึ่งเป็นทรัพย์ที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงแล้ว การที่จำเลยขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจรโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียวอันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สินโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้เสียหายหรือผู้อื่น
เป็นการกระทำที่สร้างความวุ่นวายและตระหนกตกใจขึ้นในที่สาธารณะและอาจทำให้สุจริตชนได้รับอันตรายจากการกระทำของจำเลยได้
รถตู้ของกลางที่จำเลยใช้เป็นยานพาหนะจึงเป็นทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรงเช่นกัน
ประกอบกับการกระทำของจำเลยนับว่าเป็นการกระทำที่ไม่นำพาต่อกฎหมายบ้านเมืองและก่อให้เกิดผลกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของสังคม
พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุสมควรให้ริบรถตู้ของกลาง
ตามฎีกานี้
โจทก์มีคำขอให้ริบรถตู้ของจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพ
ตามฎีกาของจำเลยมีปัญหาที่ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า
มีเหตุสมควรให้ริบรถตู้ของกลางหรือไม่ ซึ่งศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า
มีเหตุสมควรให้ริบรถตู้ของกลาง
เพิ่มเติม
การที่ศาลจะมีอำนาจสั่งริบทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิดตาม
ป.อ. มาตรา ๓๓(๑) เป็นเรื่องอยู่ในดุลพินิจของศาล
และมีความมุ่งหมายถึงให้ริบตัวทรัพย์สินที่ผู้กระทำความผิดได้ใช้ในการกระทำความผิดนั้นๆ
โดยตรง กล่าวคือ
ทรัพย์สินนั้นจะต้องเกี่ยวข้องเป็นส่วนหนึ่งของการกระทำความผิดด้วย
ซึ่งต้องพิจารณาถึงพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องๆ ไป และเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย (ฎีกาที่ ๘๒๘๒/๒๕๕๓)
จำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องโดยไม่ได้โต้เถียงว่ารถยนต์กระบะของกลางที่ยึดได้นั้นจำเลยมิได้ใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
และศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง
จึงต้องฟังว่ารถยนต์กระบะของกลางที่ยึดได้เป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดซึ่งศาลมีอำนาจริบได้(ฎีกาที่
๖๒๖๑/๒๕๕๑)
จำเลยดัดแปลงหรือเปลี่ยนแปลงสภาพรถจักรยานยนต์ของกลางเพื่อนำไปสู่การแข่งรถจักรยานยนต์ในทาง
รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดฐานส่งเสริมหรือสนับสนุนให้มีการแข่งรถจักรยานยนต์ในทางโดยตรงซึ่งศาลมีอำนาจริบได้(ฎีกาที่
๙๖๗๕/๒๕๕๙)
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๓ ในการริบทรัพย์สิน
นอกจากศาลจะมีอำนาจริบตามกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้ว
ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้ริบทรัพย์สินดังต่อไปนี้อีกด้วย คือ
(๑) ทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้
หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น