ประเด็น ว่าการร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องดำเนินการภายในระยะเวลา ๑๐ ปี หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๕๐/๒๕๖๑
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘ ให้จำเลยที่ ๓ ในคดีนี้ชำระเงินแก่โจทก์ ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ ๓ ภายในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ อันเป็นวันครบกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในชั้นที่สุด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๗๑(เดิม) และการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นวิธีการบังคับคดีที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลที่ได้ออกหมายบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา ๒๙๐(เดิม) ฉะนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นที่จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องดำเนินการภายในระยะเวลา ๑๐ ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ จึงพ้นระยะเวลา ๑๐ ปี นับแต่วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘ แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าเฉลี่ยเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ ๓ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๙๐(เดิม) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒(๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖, ๒๔๗(เดิม)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๕๐/๒๕๖๑
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘ ให้จำเลยที่ ๓ ในคดีนี้ชำระเงินแก่โจทก์ ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ผู้ร้องเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ ดังนี้ ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวชอบที่จะร้องขอให้บังคับคดีแก่จำเลยที่ ๓ ภายในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๕๘ อันเป็นวันครบกำหนด ๑๐ ปี นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในชั้นที่สุด ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๗๑(เดิม) และการขอเฉลี่ยทรัพย์เป็นวิธีการบังคับคดีที่กฎหมายบัญญัติให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลที่ได้ออกหมายบังคับคดีให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สิน เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินนั้น ดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ.มาตรา ๒๙๐(เดิม) ฉะนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีอื่นที่จะยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ต้องดำเนินการภายในระยะเวลา ๑๐ ปี ตามบทบัญญัติดังกล่าวเช่นกัน แต่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ในคดีนี้เมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘ จึงพ้นระยะเวลา ๑๐ ปี นับแต่วันที่ ๒๗ เมษายน ๒๕๔๘ แล้ว ผู้ร้องย่อมหมดสิทธิที่จะเข้าเฉลี่ยเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยที่ ๓ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๒๙๐(เดิม) ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความไม่ได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๒(๕) ประกอบมาตรา ๒๔๖, ๒๔๗(เดิม)
ตามฎีกานี้
มาตรา ๒๗๑ เดิม ปัจจุบันคือมาตรา ๒๗๔ ส่วนมาตรา ๒๙๐ เดิม ปัจจุบันคือมาตรา ๓๒๖
เพิ่มเติม
กำหนดระยะเวลาสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา
๒๗๔ วรรคหนึ่ง หมายความถึง วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชั้นที่สุดในคดีนั้น
ไม่ใช่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา ๑๔๗(เทียบฎีกาที่
๑๐๗๓๑/๒๕๕๘ ประชุมใหญ่)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๗๔ วรรคหนึ่ง ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้
(ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน
คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้
(เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน
อายัดสิทธิเรียกร้อง
หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง
และถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้หรือได้ดำเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว
ก็ให้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง
หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้
มาตรา ๓๒๖ วรรคหนึ่ง เมื่อมีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องอย่างใดของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อเอาชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษารายหนึ่งแล้ว
ห้ามไม่ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอื่นดำเนินการให้มีการยึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องนั้นซ้ำอีก
แต่ให้มีสิทธิยื่นคำร้องต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ขอให้มีคำสั่งให้ตนเข้าเฉลี่ยในทรัพย์สินหรือเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินจากการยึดหรืออายัดนั้นได้ตามส่วนแห่งจำนวนหนี้ตามคำพิพากษา
มาตรา ๑๔๗ คำพิพากษาหรือคำสั่งใด
ซึ่งตามกฎหมายจะอุทธรณ์หรือฎีกาหรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ไม่ได้นั้น
ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่ได้อ่านเป็นต้นไป
คำพิพากษาหรือคำสั่งใด
ซึ่งอาจอุทธรณ์ฎีกา หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ได้นั้นถ้ามิได้อุทธรณ์
ฎีกาหรือร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายในเวลาที่กำหนดไว้
ให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลง ถ้าได้มีอุทธรณ์ ฎีกา
หรือมีคำขอให้พิจารณาใหม่ และศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาหรือศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีเรื่องนั้นใหม่
มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีเสียจากสารบบความตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๓๒
คำพิพากษาหรือคำสั่งเช่นว่านั้นให้ถือว่าเป็นที่สุดตั้งแต่วันที่มีคำสั่งให้จำหน่ายคดีจากสารบบความ
คู่ความฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดอาจยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นซึ่งพิจารณาคดีนั้น
ให้ออกใบสำคัญแสดงว่าคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว
อ้างอิง
สมชัย ฑีฆาอุตมากร. หนังสือ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ฉบับสมบูรณ์,
๒๕๖๑.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น