เหตุที่ผู้ตายมีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินเพียงผู้เดียวเนื่องจากผู้ตายได้รับการยกให้ที่ดินพิพาทจากบิดามารดา
ผู้ตายครอบครองทำประโยชน์มากกว่า ๔๐ ปี ซึ่งเป็นเวลาก่อนที่ผู้ตายอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องสอดที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายมีอยู่ก่อนสมรส
เป็นสินส่วนตัวของผู้ตายตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๔๗๑ (๑) แม้เจ้าพนักงานที่ดินออกโฉนดที่พิพาทให้แก่ผู้ตายหลังจากผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับผู้ร้องสอดแล้ว
ก็ไม่มีผลทำให้ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกลับกลายเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายได้มาในระหว่างสมรสอันจะเป็นสินสมรสตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๑๔๗๔ (๑) เมื่อที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย ผู้ตายจึงมีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยได้
เพิ่มเติม
มาตรา ๑๔๗๑ บัญญัติว่า “สินส่วนตัวได้แก่ทรัพย์สิน
(๑) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส” คำว่า “ที่มีอยู่ก่อนสมรส” หมายความว่า
ก่อนที่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากัน
การที่ผู้ตายกับจำเลยร่วมกันกู้เงินซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์
ก่อนจดทะเบียนสมรสและช่วยกันผ่อนชำระหนี้ธนาคารเข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกันมาแต่เดิม
แต่การถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ไม่ปรากฏว่ามีการตกลงกันเป็นอย่างอื่น
จึงเป็นการถือกรรมสิทธิ์รวมของผู้ตายกับจำเลยคนละครึ่ง ดังนั้น
เมื่อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ผู้ตายกับจำเลยมีอยู่ก่อนสมรส
จึงเป็นสินส่วนตัวของผู้ตายกับจำเลยฝ่ายละครึ่งตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๔๗๑ (๑)(ฎีกาที่
๑๗๗๖/๒๕๕๘)
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินพิพาทแล้วจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทก่อนที่ผู้ร้องกับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกัน
ย่อมถือได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องมีอยู่ก่อนสมรสและเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๑๔๗๑ (๑)(ฎีกาที่ ๓๙๔๓/๒๕๖๑)
จำเลยได้รับการยกให้ที่ดินจากมารดาก่อนสมรสกับผู้ร้องที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินส่วนตัวของจำเลย(ฎีกาที่
๔๘๖๕/๒๕๓๖)
อ้างอิง
หนังสือ
สมชัย ฑีฆาอุตมากร.
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ ๕ ว่าด้วย ครอบครัว ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พลสยาม พริ้มติ้ง(ประเทศไทย), ๒๕๕๔.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น