ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ
จึงต้องถือว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของรัฐ
การที่จำเลยเข้าไปครอบครองที่ดินพิพาทโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานของกรมธนารักษ์
กระทรวงการคลัง ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ถึงแม้ในตอนแรกที่จำเลยเข้าไปครอบครองในช่วงปี
๒๕๓๓
อาจไม่สามารถชี้ให้เห็นเจตนาของจำเลยได้ชัดเจนว่าจำเลยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุหรือไม่
แต่ต่อมาปรากฏข้อเท็จจริงตามหนังสือที่จำเลยอ้างส่งศาลซึ่งเป็นเอกสารที่จำเลยทำขึ้นและมีไปถึงกระทรวงการคลังและกรมธนารักษ์
ขอให้ทบทวนแนวเขตและเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวง(ทะเบียนที่ราชพัสดุ)
เอกสารดังกล่าวแสดงข้อเท็จจริงว่า ในขณะนั้นจำเลยได้รับทราบแล้วว่าที่ดินพิพาทถูกกรมธนารักษ์กันไว้เป็นที่ราชพัสดุแล้ว
แต่จำเลยอ้างว่าจำเลยไม่ใช่คู่ความในคดีนั้นจึงไม่ต้องผูกพัน
และจำเลยไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาทจนกระทั่งถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้ เช่นนี้
จึงย่อมถือได้ว่าในวันเวลาเกิดเหตุตามที่โจทก์ฟ้องจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นขอรัฐ
โดยรู้อยู่แล้วว่าที่ดินนั้นเป็นที่ของรัฐ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม
ป.ที่ดิน มาตรา ๙ (๑) ที่จะต้องมีบทกำหนดโทษตาม มาตรา ๑๐๘ ทวิ วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริง
พยานโจทก์เบิกความยืนยันข้อเท็จจริงเป็นทำนองเดียวกันว่า
ที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ แปลงหมายเลขที่ นม.๓๑๓๐
โดยที่ดินแปลงดังกล่าวและที่ดินบริเวณเดียวกัน
มีการขึ้นทะเบียนเป็นที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินมาตั้งแต่ปี ๒๕๑๒
หลังจากนั้นมีประชาชนบุกรุกเข้ามาครอบครองจำนวนมาก
กรมธนารักษ์ในฐานะผู้ดูแลที่ดินราชพัสดุได้ดำเนินการเจรจาขอให้ประชาชนที่บุกรุกออกจากที่ดินที่บุกรุก
ประชาชนส่วนใหญ่ยอมออกจากที่ดินที่บุกรุก บางรายดำเนินการให้สำนักงานที่ดิน
กรมที่ดิน ออกเอกสารสิทธิคือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินที่บุกรุกเข้มาครอบครองและทำประโยชน์ให้
กระทรวงการคลังโดยกรมธนารักษ์โต้แย้งคัดค้านทุกรายและไม่มีรายใดได้เอกสารสิทธิจากกรมที่ดินเลย
มีบางรายนำคดีขึ้นสู่ศาลโดยฟ้องกรมธนารักษ์เป็นจำเลยคดีถึงที่สุดในชั้นศาลฎีกาโดยศาลฎีกาวินิจฉัยฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติแล้วว่า
ที่ดินในบริเวณเดียวกันกับที่ดินพิพาทเป็นที่ราชพัสดุ
จำเลยได้รับทราบคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวแล้ว แต่ไม่ยอมออกจากที่ดินพิพาท
ยังคงครอบครองที่ดินพิพาทอยู่ตลอดมา
พยานฝ่ายจำเลยเบิกความยืนยันข้อเท็จจริงทำนองเดียวกันว่า
ที่ดินพิพาทไม่มีเอกสารสิทธิ
เพิ่มเติม
การหวงห้ามที่ดินของรัฐ
ซึ่งนับแต่มีการประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดินแล้ว ถือว่าที่ดินของรัฐ
ถ้าบุคคลใดไม่มีสิทธิครอบครองอยู่ก่อนแล้ว ถือว่าเป็นที่หวงห้ามทั้งสิ้น
โดยรัฐไม่จำต้องดำเนินการใดหรือวิธีการใดในการหวงห้ามที่ดินนั้นอีก
ซึ่งแต่ก่อนจะต้องมีการออกพระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินสำหรับสงวนไว้แก่ทางราชการ หรือหวงห้ามโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ของรัฐ(สมศักดิ์
เอี่ยมพลับใหญ่ หนังสือคำอธิบายพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.๒๔๙๗
และประมวลกฎหมายที่ดิน ฉบับสมบูรณ์)
ความผิดข้อหาเข้าไปยึดถือ
ครอบครอง ที่ดินของรัฐซึ่งเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตาม ป.ที่ดิน มาตรา ๙ และ
๑๐๘ ทวิ วรรคสอง
เป็นความผิดที่มีขึ้นตั้งแต่จำเลยเข้ายึดถือครอบครองและยังคงมีอยู่ตลอดเวลาที่จำเลยครอบครอง
แม้จำเลยจะครอบครองมานานเกิน ๑๐ ปี คดีของโจทก์เฉพาะข้อหาความผิดตาม ป.ที่ดิน
มาตรา ๙ และ ๑๐๘ ทวิ วรรคสอง ก็ไม่ขาดอายุความ(ฎีกาที่ ๒๔๐๖/๒๕๖๐)
การเข้ายึดถือครอบครองที่ดินของรัฐ
โดยไม่ได้รับใบอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ แม้จะเสียภาษีบำรุงท้องที่ก็ตาม
เป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๙ แห่ง ป.ที่ดิน(ฎีกาที่ ๔๒๑๙/๒๕๕๖)
ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตคลองน้ำดำอันเป็นสาธารณะสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกัน
ซึ่งแม้ปัจจุบันคลองน้ำดำมีสภาพตื้นเขินโดยการเปลี่ยนแปลงสภาพตามธรรมชาติแต่เมื่อไม่มีการเพิกถอนก็ยังเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน
จึงเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๐๔(๒) และเป็นที่ดินของรัฐ
จึงต้องห้ามมิให้บุคคลใดเข้าไปยึดถือครอบครองตาม ป.ที่ดิน มาตรา ๙(๑) การที่จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทโดยการถมที่ดินในคลองน้ำดำเป็นการกระทำแก่ที่ดินซึ่งเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ประชาชนใช้ร่วมกันจึงเป็นความผิดตามมาตรา
๑๐๘ ทวิ วรรคสอง(ฎีกาที่ ๒๙๗๘/๒๕๕๓)
ประมวลกฎหมายที่ดิน
มาตรา ๙ ภายใต้บังคับกฎหมายว่าด้วยการเหมืองแร่และการป่าไม้
ที่ดินของรัฐนั้น ถ้ามิได้มีสิทธิครอบครอง
หรือมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่แล้ว ห้ามมิให้บุคคลใด
(๑) เข้าไปยึดถือ ครอบครอง รวมตลอดถึงการก่นสร้างหรือเผาป่า
มาตรา ๑๐๘ ทวิ นับตั้งแต่วันที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับนี้ใช้บังคับ
ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๙ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินห้าพันบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น