โจทก์ทั้งสองทำสัญญาจ้างกับจำเลยโดยโดยมีระยะเวลาการทำงาน
๑๐ เดือน เมื่อครบกำหนดระยะเวลาจำเลยจะจ่ายค่าชดเชยตามระยะเวลาการทำงานให้แก่โจทก์ทั้งสอง และเรียกให้โจทก์ทั้งสองมาทำสัญญาจ้างฉบับใหม่ สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยจึงมีกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละคราว การที่ในระหว่างสัญญาจ้างสหภาพแรงงาน
ร. มีมติแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นกรรมการลูกจ้างนั้นโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างย่อมได้รับความคุ้มครองตาม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๕๒ เป็นการห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง
ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน แต่การที่จำเลยไม่ต่อสัญญาจ้างฉบับใหม่กับโจทก์ทั้งสอง อันส่งผลให้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยต้องสิ้นสุดไปตามกำหนดระยะเวลาการจ้างที่ตกลงไว้ก่อนนั้น ถือเป็นกรณีระยะเวลาตามสัญญาจ้างสิ้นสุดลงเป็นผลให้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยต้องเลิกกันตามผลของสัญญา ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยกลั่นแกล้งไม่ต่ออายุสัญญาจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสอง กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับที่จำเลยจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อนตาม
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๕๒ และจำเลยไม่จำต้องรับโจทก์ทั้งสองกลับเข้าทำงาน
ตามฎีกานี้ จำเลยต่อสัญญาจ้างกับโจทก์ทั้งรวม ๖
ฉบับ สัญญาจ้างแต่ละฉบับมีกำหนดระยะเวลาการจ้าง ๑๐ เดือน
ฉบับสุดท้ายก่อนสัญญาจ้างครบกำหนด สหภาพแรงงาน ร.
มีมติแต่งตั้งโจทก์ทั้งสองเป็นกรรมการลูกจ้าง
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๑๐๙๐๗/๒๕๕๓ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๕๒ เป็นบทบัญญัติคุ้มครองสิทธิ์ของกรรมการลูกจ้าง
เพื่อมิให้นายจ้างกระทำการใด ๆ ที่บัญญัติไว้เป็นผลเสียหายแก่กรรมการลูกจ้าง แต่หากนายจ้างเห็นว่ามีกรณีจำเป็นก็สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานอนุญาตให้นายจ้างเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างได้
ซึ่งศาลแรงงานจะพิจารณาถึงเหตุผลความจำเป็นและความเหมาะสมเพียงพอที่จะอนุญาต เมื่อปรากฏว่าศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างจึงเป็นกรณีที่ศาลแรงงานกลางพิจารณาเหตุผลตามความจำเป็นของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง
และความเหมาะสมเพียงพอสำหรับกรณีที่จำเลยขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์แล้ว การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ต่อมาจึงเป็นกรณีที่จำเลยดำเนินการตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ภายใต้ดุลพินิจของศาลแรงงานที่อนุญาต จึงมิใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.๒๕๒๒ มาตรา ๔๙
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๘
มาตรา ๕๒ ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง
ลดค่าจ้าง ลงโทษ ขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใด ๆ อันอาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทำงานอยู่ต่อไปได้
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาลแรงงาน
0 Comments
แสดงความคิดเห็น