โจทก์ผิดสัญญาตามคำพิพากษาตามยอมในข้อที่ไม่นำบุตรผู้เยาว์ไปให้บิดาโจทก์
แต่โจทก์นำบุตรไปให้บิดาโจทก์ดูแลหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว ๙ เดือน การจะบังคับคดีทันทีในส่วนนี้คือ
จำเลยมีสิทธิบังคับคดีเพื่อให้มีการบังคับให้โจทก์ส่งบุตรให้บิดาโจทก์ดูแลตามที่ระบุไว้ในสัญญา
ไม่มีเหตุผลที่จะกำหนดให้การผิดสัญญาประนีประนอมยอมความข้อที่ไม่ใช่การชำระด้วยเงินเป็นการผิดนัดที่ทำให้ต้องชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูเพิ่มขึ้น
ทั้งเมื่อสัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความไม่รัดกุมเป็นช่องทางที่อาจทำให้แปลความได้อย่างที่จำเลยกล่าวอ้าง
ก็ถือได้ว่าเป็นกรณีที่มีข้อสงสัย จึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายซึ่งจะต้องเป็นผู้เสียหายในมูลหนี้นั้น
ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๑๑ กรณีจึงต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่โจทก์ จำเลยยื่นคำร้องขอบังคับคดีแก่โจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ส่งบุตรให้บิดาโจทก์ดูแล
มิได้ยื่นคำร้องว่าโจทก์ผิดนัดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
เมื่อโจทก์ยังไม่ผิดนัดชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู
จำเลยไม่มีสิทธิขอให้ออกหมายบังคับคดีแก่โจทก์ให้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูได้
ตามฎีกานี้ สัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ ๑ ระบุว่า จำเลยตกลงชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ
๔,๐๐๐ บาท และ ข้อ ๒ ระบุว่า โจทก์ตกลงชำระค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ทั้งสองเดือนละ
๔,๐๐๐ บาท ข้อ ๗ ระบุว่า หากคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดผิดนัดชำระตามสัญญาข้อหนึ่งข้อใดให้ถือว่าคู่สัญญาฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายผิดนัดทั้งหมด
และยินยอมให้คู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งบังคับคดีได้ทันทีเต็มตามฟ้อง กล่าวคือ
ในส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดู จำนวนเดือนละ ๒๐,๐๐๐ บาท
จนกว่าบุตรทั้งสองจะบรรลุนิติภาวะหรือจบการศึกษาชั้นปริญญาตรี (ต่อ) ข้อ ๗
โจทก์ตกลงว่าเมื่อบุตรผู้เยาว์ทั้งสองเข้ารับการศึกษา
โจทก์จะนำบุตรทั้งสองไปให้บิดาของโจทก์เป็นผู้ดูแลต่อไป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๑ ในกรณีที่มีข้อสงสัย
ให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่าซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น
เพิ่มเติม
ตามมาตรา ๑๑ มีหลักเกณฑ์ที่สำคัญ
คือ (๑) ข้อความใดข้อความหนึ่งในเอกสารมีข้อสงสัย (๒)
สามารถตีความเอกสารนั้นได้หลายทาง (๓) กฎหมายให้ตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่าซึ่งจะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น
ผู้ซึ่งจะต้องเสียในมูลหนี้
หมายถึง ลูกหนี้หรือบุคคลที่จะต้องรับผิดในข้อตกลงหรือสัญญา
รวมถึงผู้ซึ่งจะต้องเสียหรือขาดประโยชน์ในสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งด้วย
อ้างอิง
กันย์กัญญา
ใจการวงค์สกุล. กฎหมายแพ่งหลักทั่วไป. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๖๐.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น