จำเลยผู้กู้นำเงินฝากเข้าบัญชีเงินฝากของโจทก์ผู้ให้กู้เพื่อชำระหนี้เงินกู้ที่กู้ยืมจากโจทก์ เป็นการชำระหนี้ผ่านธนาคารที่โจทก์มีบัญชีเงินฝากเพื่อให้โจทก์ได้รับเงินที่ชำระหนี้ โดยไม่ได้ทำนิติกรรมโดยตรงต่อโจทก์ จึงไม่อาจมีการกระทำตาม ป.พ.พ.มาตรา ๖๕๓ วรรคสอง ได้ การที่โจทก์เจ้าหนี้มิได้โต้แย้งไม่รับเงิน ถือว่าเป็นกรณีที่เจ้าหนี้ยอมรับชำระหนี้อย่างอื่นแทนการ ชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคหนึ่ง จำเลยมีสิทธินำสืบการชำระหนี้ให้แก่โจทก์ด้วยการนำเงินฝากเข้าบัญชีของโจทก์ได้
ตามฎีกานี้ โจทก์ฎีกาว่า หนี้ที่โจทก์กับจำเลยตกลงกันคือกู้ยืมและรับเงินไปแล้ว
จำเลยมีหน้าที่ต้องนำเงินสดมาชำระหนี้แก่โจทก์เพื่อโจทก์จะได้เวนคืนหรือแทงเพิกถอนเอกสาร
ไม่มีข้อตกลงอื่นใดที่ระบุว่าให้จำเลยชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระเงินสด
เพิ่มเติม
การชำระหนี้อย่างอื่น
ถ้าวัตถุแห่งหนี้หรือทรัพย์ที่เป็นวัตถุแห่งหนี้เป็นคนละอย่างกัน
ย่อมเป็นการชำระหนี้อย่างอื่นอย่างชัดเจน ซึ่งเรียกโดยทั่วไปว่า “การตีใช้หนี้”
เช่น โจทก์จำ เลยลงทุนร่วมกันเพื่อซื้อที่ดินไปขายแบ่งกำ ไรกันต่อมาโจทก์ขอเงินลงทุนคืนจำ เลยจึงออกเช็คชำ ระหนี้ดังกล่าวให้โจทก์ เมื่อเช็คที่จำ เลยออกให้ถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ได้นำ หนังสือมอบอำ นาจของจำ เลยไปดำ เนินการโอนที่ดินทั้งสามแปลงของจำ เลยเป็นชื่อโจทก์ โดยไม่ได้ตกลงกำ หนดราคาที่ดินทั้งสามแปลงเป็นอย่างอื่น
ย่อมถือเสมือนว่าโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ยอมรับการชำ ระหนี้อย่างอื่นแทนการชำ ระเงินตามที่ได้ตกลงกันไว้ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๓๒๑ วรรคแรก ทำให้หนี้ตามเช็คเป็นอันระงับสิ้นไป
โจทก์ไม่มีสิทธินำ เช็คมา
ฟ้องเรียกเงินจากจำ เลยอีก(ฎีกาที่
๕๓๑๒-๕๓๑๓/๒๕๔๔)
โจทก์ยอมให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้ยืมที่ค้างชำระทั้งหมดแก่โจทก์แล้วด้วยการที่โจทก์รับเอาไก่ของจำเลยไว้
ย่อมแปลความหมายได้ว่า โจทก์พอใจรับเอาไก่ของจำเลยชำระหนี้แทนเงินที่จำเลยกู้ไปแล้ว(ฎีกาที่
๕๒๑๒/๒๕๓๓)
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๓๒๑
ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับการชำระหนี้อย่างอื่นแทนการชำระหนี้ที่ได้ตกลงกันไว้ ท่านว่าหนี้นั้นก็เป็นอันระงับสิ้นไป
ถ้าเพื่อที่จะทำให้พอแก่ใจเจ้าหนี้นั้น ลูกหนี้รับภาระเป็นหนี้อย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นใหม่ต่อเจ้าหนี้ไซร้
เมื่อกรณีเป็นที่สงสัย ท่านมิให้สันนิษฐานว่าลูกหนี้ได้ก่อหนี้นั้นขึ้นแทนการชำระหนี้ ถ้าชำระหนี้ด้วยออก-ด้วยโอน-หรือด้วยสลักหลังตั๋วเงินหรือประทวนสินค้า
ท่านว่าหนี้นั้นจะระงับสิ้นไปต่อเมื่อตั๋วเงินหรือประทวนสินค้านั้นได้ใช้เงินแล้ว
มาตรา ๖๕๓
การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น
ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น
ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว
หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว
อ้างอิง
ไพโรจน์ วายุภาพ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่าด้วยหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บริษัท กรุงสยาม
พับลิชชิ่ง จำกัด, 2561.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น