ศาลชั้นต้นเป็นศาลแขวงซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่งที่มีราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ไม่เกินสามแสนบาทตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบมาตรา ๒๕ (๔) โดยต้องถือตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ขอให้บังคับเอาจากจำเลยทั้งสองในวันที่ยื่นฟ้อง เมื่อโจทก์ที่ ๒ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในมูลละเมิดตามคำฟ้องเป็นเงิน จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ โจทก์ที่ ๔ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในมูลละเมิดตามคำฟ้องเป็นเงิน จำนวน ๒๙๕,๗๐๗.๓๒ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ และโจทก์ที่ ๕ ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองในมูลละเมิดตามคำฟ้องเป็นเงิน จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ ๗.๕ ต่อปี นับแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ เป็นต้นจนกว่าจะชำระเสร็จ จึงต้องนำดอกเบี้ย ซึ่งคิดคำนวณนับแต่วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๕๗ จนถึงวันฟ้องคือวันที่ ๔ สิงหาคม ๒๕๕๘ มารวมเป็นจำนวนเงินที่ฟ้องด้วย คดีในส่วนของโจทก์ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ย่อมเป็นคดีมีทุนทรัพย์เกินกว่าสามแสนบาท ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงย่อมไม่มีอำนาจรับคดีในส่วนของโจทก์ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ไว้พิจารณาพิพากษาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา ๑๗ ประกอบมาตรา ๒๕ (๕) ศาลชั้นต้นต้องสั่งไม่รับฟ้องคดีในส่วนของโจทก์ที่ ๒ 4 และที่ ๕ การที่ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาคดีในส่วนของโจทก์ที่ ๒ ที่ 2 และที่ ๕ เป็นการไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ นี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยื่นอุทธรณ์ขึ้นมา ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา ๑๔๒ (๕)

               ตามฎีกานี้ ศาลอุทธรณ์ภาค ๒ พิพากษาให้ยกฟ้องและยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะในส่วนของโจทก์ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นว่า แต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ที่จะนำคำฟ้องมายื่นใหม่ต่อศาลที่มีเขตอำนาจภายในอายุความ คืนค่าขึ้นศาลทั้งสามศาลในส่วนของโจทก์ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ ให้แก่โจทก์ที่ ๒ ที่ ๔ และที่ ๕ และจำเลยทั้งสอง...
               กรณีนี้ไม่อาจปรับเข้าด้วยมาตรา ๑๙/๑ ได้

พระธรรมนูญศาลยุติธรรม
               มาตรา ๑๗ ศาลแขวงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี และมีอำนาจทำการไต่สวน หรือมีคำสั่งใด ๆ ซึ่งผู้พิพากษาคนเดียวมีอำนาจตามที่กำหนดไว้ในมาตรา ๒๔ และมาตรา ๒๕ วรรคหนึ่ง
               มาตรา ๑๙/๑ บรรดาคดีซึ่งเกิดขึ้นในเขตศาลแขวงและอยู่ในอำนาจของศาลแขวงนั้น ถ้ายื่นฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งธนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาล อาญาธนบุรี ศาลอาญาพระโขนง ศาลอาญามีนบุรี หรือศาลจังหวัด ให้อยู่ในดุลพินิจของศาลดังกล่าวที่จะยอมรับพิจารณาคดีใดคดีหนึ่งที่ยื่นฟ้องเช่นนั้นหรือมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลแขวงที่มีเขตอำนาจก็ได้ และไม่ว่ากรณีจะเป็นประการใด หากศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาล แห่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งธนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญาพระโขนง ศาลอาญามีนบุรี หรือศาลจังหวัด ได้มีคำสั่งรับฟ้องคดีเช่นว่านั้นไว้แล้ว ให้ศาลดังกล่าวพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป
               ในกรณีที่ขณะยื่นฟ้องคดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลแพ่ง ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งธนบุรี ศาลแพ่งพระโขนง ศาลแพ่งมีนบุรี ศาลอาญา ศาลอาญากรุงเทพใต้ ศาลอาญาตลิ่งชัน ศาลอาญาธนบุรี ศาลอาญาพระโขนง ศาลอาญามีนบุรี หรือศาลจังหวัดอยู่แล้ว แม้ต่อมาจะมีพฤติการณ์เปลี่ยนแปลงไปทำให้คดีนั้นเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจของศาลแขวง ก็ให้ศาลดังกล่าวพิจารณาพิพากษาคดีนั้นต่อไป
               มาตรา ๒๕ ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้น ดังต่อไปนี้
               (๑) ไต่สวนและวินิจฉัยชี้ขาดคำร้องหรือคำขอที่ยื่นต่อศาลในคดีทั้งปวง กา
               (๒) ไต่สวนและมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการเพื่อความปลอดภัย
               (๓) ไต่สวนมูลฟ้องและมีคำสั่งในคดีอาญา
               (๔) พิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน สามแสนบาท ราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินดังกล่าวอาจขยายได้โดยการตราเป็นพระราช กฤษฎีกา
               (๕) พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกำหนดอัตราโทษอย่างสูงไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แต่จะลงโทษจำคุกเกินหกเดือน หรือปรับเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งโทษจำคุกหรือปรับอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างเกินอัตราที่กล่าวแล้วไม่ได้
               ผู้พิพากษาประจำศาลไม่มีอำนาจตาม (๓) (๔) หรือ (๕)
อ้างอิง
หนังสือคำพิพากษาศาลฎีกา พุทธศักราช ๒๕๖๑ เล่มที่ ๕