จำเลยผู้รับโอนทรัพย์ซึ่งจำนองบอกกล่าวแจ้งความประสงค์ไถ่ถอนจำนองแก่โจทก์ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๗๓๘ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับคำเสนอวันที่ ๑๙ มีนาคม ๒๕๕๘
จะไม่ยอมรับคำเสนอได้ก็ด้วยการฟ้องคดีเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนองนั้นภายในวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๕๘ ตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๗๓๙ การที่โจทก์ไม่แจ้งว่าเห็นชอบกับข้อเสนอของจำเลยหรือไม่ จะถือเป็นการไม่ยอมรับคำเสนอของจำเลยที่จะให้สิทธิแก่จำเลยสามารถไถ่ถอนจำนองได้ด้วยการใช้เงินหรือการวางเงินตามจำนวนที่เสนอว่าจะใช้แทนการชำระหนี้ตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๗๔๑ หาได้ไม่ เมื่อครบกำหนด ๑ เดือน ที่โจทก์ไม่ฟ้องคดี จำเลยมิได้ใช้เงินหรือวางเงินตามจำนวนที่เสนอว่าจะใช้ภายในกำหนด ๖๐ วัน ตามคำเสนอของจำเลยจึงไม่เป็นการไถ่ถอนจำนองตาม ป.พ.พ.มาตรา ๗๔๑ แม้หลังจากนั้นจำเลยมีหนังสือลงวันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๘ ถึงโจทก์ขอให้กำหนดวันไถ่ถอนจำนองและขอชำระเงินในวันนัดไถ่ถอน
ณ สำนักงานที่ดิน แต่ภายหลังพ้นกำหนด ๖๐ วัน ตามคำเสนอของจำเลยแล้ว ทั้งหนังสือดังกล่าวไม่ได้กำหนดวันชำระเงินจึงยังไม่อาจถือว่ามีคำเสนอไถ่ถอนจำนองขึ้นใหม่
ต่อมาวันที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๘ จำเลยมีหนังสือถึงโจทก์ปฏิเสธการชำระหนี้ตามที่โจทก์มีหนังสือลงวันที่ ๑๗
กันยายน ๒๕๕๘ และขอชำระเงินไถ่ถอนจำนองตามจำนวนที่เสนอว่าจะใช้ดังกล่าวอีก โดยจะชำระในวันที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๘
ดังนี้ถือได้ว่าจำเลยมีคำเสนอที่จะไถ่ถอนจำนองขึ้นใหม่ โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ ๙
ตุลาคม ๒๕๕๘ ภายใน ๑ เดือน นับแต่วันที่รับคำเสนอ จึงเป็นการไม่ยอมรับคำเสนอด้วยการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ.มาตรา ๗๓๙ จำเลยไม่อาจไถ่ถอนจำนองด้วยการชำระเงินตามจำนวนที่เสนอว่าจะใช้ตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๗๓๘ ได้
เพิ่มเติม
กรณีเจ้าหนี้ไม่ยอมรับคำเสนอตามมาตรา
๗๓๙ ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายใน ๑ เดือน นับแต่วันได้รับคำเสนอ
กรณีเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องจดหมายบอกกล่าวผู้รับโอนว่าปฏิเสธไม่ยอมรับคำเสนอ โดยจะต้องฟ้องบังคับจำนองแก่ผู้รับโอนให้ชำระหนี้เพื่อให้ศาลสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง
ถ้าเจ้าหนี้ยอมรับคำเสนอตามมาตรา ๗๔๑
ผู้รับโอนมีสิทธิตามคำเสนอนั้นคือเอาเงินไปชำระแก่เจ้าหนี้ทุกรายด้วยตนเอง
ในกรณีบางรายไม่ยอมรับเงิน แต่ไม่ฟ้องคดีตามมาตรา ๗๓๙ ผู้รับโอนมีสิทธินำเงินไปวางไว้
ณ สำนักงานวางทรัพย์ได้ และถือว่าเป็นการไถ่ถอนจำนองแล้ว
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๗๓๘
ผู้รับโอนซึ่งประสงค์จะไถ่ถอนจำ นองต้องบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่ลูกหนี้ชั้นต้น
และต้องส่งคำ เสนอไปยังบรรดาเจ้าหนี้ที่ได้จดทะเบียน
ไม่ว่าในทางจำ นองหรือประการอื่น
ว่าจะรับใช้เงินให้เป็นจำ นวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น
คำเสนอนั้นให้แจ้งข้อความทั้งหลายต่อไปนี้
คือ
(๑) ตำ แหน่งแหล่งที่และลักษณะแห่งทรัพย์สินซึ่งจำ นอง
(๒)
วันซึ่งโอนกรรมสิทธิ์
(๓)
ชื่อเจ้าของเดิม
(๔) ชื่อและภูมิลำ เนาของผู้รับโอน
(๕) จำ นวนเงินที่เสนอว่าจะใช้
(๖) คำ นวณยอดจำ นวนเงินที่ค้างชำ ระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่ง
ๆ รวมทั้งอุปกรณ์และจำ นวนเงินที่จะจัดเป็นส่วนใช้แก่บรรดาเจ้าหนี้ตามลำ ดับกัน
อนึ่ง ให้คัดสำ เนารายงานจดทะเบียนของเจ้าพนักงานในเรื่องทรัพย์สินซึ่งจำ นองนั้น อันเจ้าพนักงานรับรองว่าเป็นสำ เนาถูกถ้วนสอดส่งไปด้วย
มาตรา ๗๓๙
ถ้าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดไม่ยอมรับคำ เสนอ
เจ้าหนี้คนนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันมีคำ เสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำ นองนั้น แต่ว่าเจ้าหนี้นั้นจะต้องปฏิบัติการดังจะกล่าวต่อไปนี้ด้วย
คือ
(๑)
ออกเงินทดรองค่าฤชาธรรมเนียมการขายทอดตลาด
(๒)
ต้องเข้าสู้ราคาเอง หรือแต่งคนเข้าสู้ราคาเป็นจำ นวนเงินสูงกว่าที่ผู้รับโอนเสนอจะใช้
(๓)
บอกกล่าวการที่ตนไม่ยอมนั้นให้ผู้รับโอนและเจ้าหนี้คนอื่น ๆ บรรดาได้จดทะเบียน กับทั้งเจ้าของทรัพย์คนก่อนและลูกหนี้ชั้นต้นทราบด้วย
มาตรา ๗๔๑
เมื่อเจ้าหนี้ทั้งหลายได้สนองรับคำ เสนอทั่วทุกคนแล้ว
โดยแสดงออกชัดหรือโดยปริยายก็ดี ท่านว่าจำ นองหรือบุริมสิทธิก็เป็นอันไถ่ถอนได้ด้วยผู้รับโอนใช้เงิน
หรือวางเงินตามจำ นวนที่เสนอจะใช้แทนการชำ ระหนี้
อ้างอิง
ปัญญา ถนอมรอด. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่าด้วย ยืม ค้ำประกัน จำนอง จำนำ.
พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัท กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด, 2560.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น