คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๐๒๑/๒๕๖๑
สิทธิของโจทก์ในการที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองเป็นผลมาจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาถึงที่สุด ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ ซึ่งในการบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองนั้นได้มีบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาตรา ๒๘๘ (เดิม) บัญญัติให้บุคคลภายนอกที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้สามารถร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้ การที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาร้องขอให้ปล่อยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์ไม่อาจอ้างได้ว่าการกระทำของผู้ร้องทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๘๐๖
สิทธิของโจทก์ในการที่จะบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองเป็นผลมาจากคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่พิพากษาถึงที่สุด ให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระหนี้แก่โจทก์ ซึ่งในการบังคับเอาจากทรัพย์สินของจำเลยทั้งสองนั้นได้มีบทบัญญัติ ป.วิ.พ.มาตรา ๒๘๘ (เดิม) บัญญัติให้บุคคลภายนอกที่อ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้สามารถร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดได้ การที่ผู้ร้องซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาร้องขอให้ปล่อยที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นการใช้สิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์ไม่อาจอ้างได้ว่าการกระทำของผู้ร้องทำให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๘๐๖
ตามฎีกานี้ โจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยทั้งสอง
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๑๒๑
พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ ๑๗๘ เพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า เมื่อปี
๒๕๔๐ ผู้ร้องซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาทจาก อ. แต่ผู้ร้องไม่มีคุณสมบัติที่จะกู้ยืมเงินจากธนาคาร
อ. ได้ จึงขอให้จำ เลยที่ ๒
ซึ่งเป็นพี่เขยและ ว. ซึ่งเป็นพี่สาวกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ. แล้วให้จำ เลยที่ ๒ และ ว.
จดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท และจดทะเบียนจำ นองแก่ธนาคาร อ. แทนผู้ร้อง จำ เลยที่ ๒ และ ว.
ไม่เคยเข้าครอบครองและพักอาศัยในที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่พิพาท
ผู้ร้องเป็นผู้ผ่อนชำ ระหนี้ให้แก่ธนาคาร
อ. ด้วยตนเอง ขอให้มีคำ สั่งปล่อยที่ดินโฉนดเลขที่
๓๒๑๒๑ พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่ ๑๗๔
โจทก์ฎีกาว่า
การที่ผู้ร้องซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทมาจาก อ. แล้วใส่ชื่อจำ เลยที่ ๒ และ ว.
เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน จากนั้นได้มอบหมายให้จำ เลยที่ ๒ และ ว. เป็นตัวแทนไปกู้ยืมเงินจากธนาคาร อ.
โดยให้จำ นองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทเป็นประกันนั้น
ถือเป็นกรณีที่ผู้ร้องเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำ เลยที่ ๒ และ ว. ซึ่งเป็นตัวแทนทำ การออกหน้าเป็นตัวการตาม ป.พ.พ.มาตรา ๘๐๖
ผู้ร้องในฐานะตัวการจึงหาอาจจะทำ ให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำ เลยที่ ๒ และ ว.
และโจทก์ขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่รู้ว่าจำ เลยที่
๒ และ ว. เป็นตัวแทนนั้นได้ไม่ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิมาร้องขอให้ปล่อยที่ดินพิพาท
ตามฎีกานี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ปล่อยที่ดินโฉนดเลขที่ ๓๒๑๒๑ พร้อมสิ่งปลูกสร้างบ้านเลขที่
๑๗๘ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ศาลฎีกาพิพากษายืน
เพิ่มเติม
ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ คือการที่ตัวแทนทำการแทนตัวการโดยไม่เปิดเผยชื่อตัวการให้บุคคลภายนอกทราบ
ดังนั้น ตัวการผู้นั้นหาอาจจะทำ ให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันเขามีต่อตัวแทน
และเขาขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่รู้ว่าเป็นตัวแทนนั้นได้ไม่
ฎีกาที่ ๓๐๔/๒๕๓๘ การที่จำ เลยยอมให้ใส่ชื่อ บ. ในโฉนดที่ดินแทนจำ เลยเป็นเรื่องที่จำ เลยซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้
บ. ผู้เป็นตัวแทนทำ การออกนอกหน้าเป็นตัวการว่าเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าว
จำ เลยจึงหาอาจทำ ให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของโจทก์
ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อ บ. ผู้เป็นตัวแทนและขวนขวายได้กรรมสิทธิ์มาก่อนที่จะรู้ว่า
บ. เป็นตัวแทนของจำ เลยได้ไม่
ฎีกาที่ ๑๗๙๒/๒๕๓๐ การที่ผู้ร้องขัดทรัพย์ใส่ชื่อจำ เลยที่ ๓ ในโฉนดแทนตนเป็นเรื่องที่ผู้ร้องซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อยอมให้จำ เลยที่ ๓ ผู้เป็นตัวแทนทำการออกนอกหน้าเป็นตัวการนำ ที่ดินพิพาทไปจำ นองกับโจทก์ ผู้ร้องจึงหาอาจทำ ให้เสื่อมเสียสิทธิของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกที่มีต่อจำ เลยที่ ๓ ผู้เป็นตัวแทน และขวนขวายได้สิทธิมาก่อนที่จะรู้ว่าจำ เลยที่ ๓ เป็นตัวแทนของผู้ร้องได้ไม่ตาม
ป.พ.พ.มาตรา ๘๐๖
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘๐๖ ตัวการซึ่งมิได้เปิดเผยชื่อจะกลับแสดงตนให้ปรากฏและเข้ารับเอาสัญญาใดๆ
ซึ่งตัวแทนได้ทำ ไว้แทนตนได้
แต่ถ้าตัวการผู้ใดได้ยอมให้ตัวแทนของตนทำ การออกหน้า
เป็นตัวการไซร้ ท่านว่าตัวการผู้นั้นหาอาจจะทำ ให้เสื่อมเสียถึงสิทธิของบุคคลภายนอกอันเขามีต่อตัวแทน
และเขาขวนขวายได้มาแต่ก่อนที่รู้ว่าเป็นตัวแทนนั้นได้ไม่
อ้างอิง
ไผทชิต เอกจริยกร. ตัวแทน-นายหน้า(พิมพ์ครั้งที่ ๑๓). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, ๒๕๕๙.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น