โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ ๑ ชำระหนี้ภาษีอากรค้างและเรียกให้ จำเลยที่ ๒ ถึงที่ ๗ ซึ่งชำระค่าหุ้นที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบแก่จำเลยที่ ๑ เพื่อโจทก์นำมาชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้าง
มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเรียกร้องจากจำเลยที่
๖ จะระงับสิ้นไปต่อเมื่อจำเลยที่
๖ ส่งใช้ค่าหุ้นตามฟ้องครบถ้วนแล้ว การที่จำเลยที่ ๑ ซึ่งเป็นลูกหนี้ภาษีอากรค้างต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอม ก็หาเป็นผลให้สิทธิเรียกร้องที่จำเลยที่ ๑ มีต่อจำเลยที่ ๖ ระงับไป โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ ๑ สามารถใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ ๑ ต่อจำเลยที่ ๖ ตาม ป.พ.พ.มาตรา ๒๓๓ และมาตรา ๒๓๕ ได้
ตามฎีกานี้ จำ เลยที่ ๑ ที่ ๒ ถึงที่ ๔ และที่ ๗
ขาดนัดยื่นคำ ให้การ แต่ตกลงทำ สัญญาประนีประนอมยอมความกับโจทก์ และยอมชำ ระภาษีอากรตามฟ้อง เมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน
๒๕๕๘
จำ เลยที่ ๕ ขาดนัดยื่นคำ ให้การ
จำเลยที่ ๖ ให้การว่าจำ เลยที่ ๒ กรรมการผู้มีอำ นาจของจำ เลยที่ ๑ นายจ้างของจำ เลยที่ ๖ หักเงินรายได้ของจำ เลยที่ ๖ จ่ายชำ ระเป็นเงินค่าหุ้นที่จำ เลยที่ ๑ โอนให้แก่จำ เลยที่ ๖ จำ นวน ๗๐๐ หุ้น เต็มมูลค่าหุ้น จำ นวนหุ้นละ ๑๐๐ บาท เป็นเงิน ๗๐,๐๐๐ บาท ตั้งแต่ เดือนธันวาคม ๒๕๕๔ แล้ว จำ เลยที่ ๖ จึงไม่มีหน้าที่จะต้องส่งเงิน
ค่าหุ้นชำ ระหนี้แทนจำ เลยที่ ๑ ให้แก่โจทก์ตามฟ้อง
ขอให้ยกฟ้อง
เพิ่มเติม
การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้
ตามมาตรา ๒๓๓ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้
๑. ต้องมีหนี้ ๒
หนี้ หนี้ที่ ๑ เป็นหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ หนี้ที่ ๑
มีอำนาจสำคัญมากเพราะเป็นหนี้ที่ก่อให้เกิดอำนาจในการใช้สิทธิเรียกร้อง หนี้ที่ ๒
เป็นหนี้ที่เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้ในหนี้ที่ ๒ ที่ลูกหนี้มีกับบุคคลภายนอกไปบังคับเอากับบุคคลภายนอก
๒.หนี้ที่ ๒
จะต้องไม่เป็นหนี้ที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้
๓.ลูกหนี้ขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช้สิทธิเรียกร้องตามที่ตนมีอยู่ในฐานะเป็นเจ้าหนี้ของหนี้ที่
๒ ซึ่งคำว่าขัดขืนหรือเพิกเฉย คงต้องหมายความถึงการไม่ยื่นฟ้องต่อศาล
๔.เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ การขัดขืนหรือเพิกเฉยไม่ใช่สิทธิเรียกร้องเช่นนั้นจะต้องทำให้เจ้าหนี้เสียประโยชน์ด้วย
ซึ่งหมายความว่า ทรัพย์สินของลูกหนี้ที่มีอยู่โดยไม่ต้องใช้สิทธิเรียกร้องนั้นไม่พอชำระหนี้(ฎีกาที่
๕๔๐๐/๒๕๓๖)
๕.การใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้จะต้องดำเนินการทางศาลโดยการยื่นฟ้องบุคคลภายนอกต่อศาล
และเจ้าหนี้สามารถยื่นฟ้องได้ในนามของตนเองแทนลูกหนี้โดยไม่ต้องได้รับการมอบอำนาจจากลูกหนี้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๓๓
ถ้าลูกหนี้ขัดขืนไม่ยอมใช้สิทธิเรียกร้องหรือเพิกเฉยเสียไม่ใช้สิทธิเรียกร้อง เป็นเหตุให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ไซร้
ท่านว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องนั้นในนามของตนเองแทนลูกหนี้เพื่อป้องกันสิทธิของตนในมูลหนี้นั้นก็ได้
เว้นแต่ในข้อที่เป็นการของลูกหนี้ส่วนตัวโดยแท้
มาตรา ๒๓๔
เจ้าหนี้ผู้ใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้นั้นจะต้องขอหมายเรียกลูกหนี้มาในคดีนั้นด้วย
มาตรา ๒๓๕
เจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องของลูกหนี้เรียกเงินเต็มจำ นวนที่ยังค้างชำ ระแก่ลูกหนี้
โดยไม่ต้องคำ นึงถึงจำ นวนที่ค้างชำ ระแก่ตนก็ได้ ถ้าจำ เลยยอมใช้เงินเพียงเท่าจำ นวนที่ลูกหนี้เดิมค้างชำ ระแก่เจ้าหนี้นั้น คดีก็เป็นเสร็จกันไป
แต่ถ้าลูกหนี้เดิมได้เข้าชื่อเป็นโจทก์ด้วย
ลูกหนี้เดิมจะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาต่อไปในส่วนจำ นวนเงินที่ยังเหลือติดค้างอยู่ก็ได้
แต่อย่างไรก็ดี
ท่านมิให้เจ้าหนี้ได้รับมากไปกว่าจำ นวนที่ค้างชำ ระแก่ตนนั้นเลย
อ้างอิง
ไพโรจน์ วายุภาพ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่าด้วยหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บริษัท กรุงสยาม
พับลิชชิ่ง จำกัด, 2561.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น