จำเลยทั้งสามร่วมกันประกอบกิจการในชื่อร้านค้าสวัสดิการ ย.
และร่วมกันบรรยายให้ข้อมูลแก่ผู้เสียหายทั้งแปดสิบห้าชักชวนให้สมัครเป็นสมาชิกร้านค้าสวัสดิการ
ย. โดยมีเงื่อนไขว่าจะเรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้มาสมัครเป็นสมาชิกตามรูปแบบสมาชิก
จำเลยทั้งสามจึงมีเจตนาทุจริตมาตั้งแต่ต้น
โดยรู้อยู่แล้วว่าร้านค้าสวัสดิการ ย. ไม่สามารถประกอบกิจการ มีผลประโยชน์หรือมีกำไรสูงจนสามารถจ่ายเงินปันผลและค่าตอบแทนให้แก่สมาชิกในอัตราสูงตามที่ได้มีการบรรยายชักชวนให้มาร่วมลงทุนสมัครเป็นสมาชิก
อีกทั้งลักษณะการชักชวนเป็นการชักชวนทั่วไป มิได้มุ่งเจาะจงชักชวนคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษโดยเฉพาะ
การหลอกลวงดังกล่าว จึงมีลักษณะเป็นการหลอกลวงประชาชนให้หลงเชื่อ แม้จะมิได้มีการป่าวประกาศหรือแจ้งให้ผู้ถูกหลอกลวงแต่ละคนไปชักชวนบุคคลอื่นต่อ
แต่ลักษณะการชักชวนของจำเลยทั้งสามมีข้อเท็จจริงเป็นอย่างเดียวกัน
โดยผู้ถูกชักชวนย่อมบอกต่อกันไปได้ แม้มีผู้เสียหายบางคนได้ผลประโยชน์
ตอบแทนเป็นเงินปันผลหุ้น แต่ก็ได้รับน้อยกว่าที่ได้ชักชวน และได้รับเพียงครั้งเดียวเท่านั้น
การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการร่วมกันหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
และโดยการหลอกลวงค่าสมัครสมาชิกจากผู้เสียหายทั้งแปดสิบห้าผู้ถูกหลอกลวง เป็นความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชน
ตาม ป.อ. มาตรา ๓๔๓ วรรคแรก
จำ“ เลยทั้งสามเรียกเก็บเงินจากผู้สมัครเป็นสมาชิก
โดยมีเงื่อนไขในการให้ผลประโยชน์ตอบแทนเฉพาะแก่ผู้เป็นสมาชิก เป็นการประกอบกิจการโดยวิธีชักจูงให้ผู้อื่นส่งเงินให้แก่ตน
และให้ผู้นั้นชักจูงผู้อื่น ตามวิธีการที่กำ หนดและแสดงให้ผู้ถูกชักจูงเข้าใจว่าถ้าได้ปฏิบัติตามจน
มีบุคคลอื่นอีกหลายคนเข้าร่วมต่อๆ ไปจนครบวงจรแล้ว ผู้ถูกชักจงจะได้รับกำ ไรมากกว่าเงินที่ผู้นั้นได้ส่งไว้แก่จำ เลยทั้งสาม ซึ่งเมื่อคำ นวณผลประโยชน์ตามรูปแบบสมาชิกแล้ว
หากผู้เป็นสมาชิกปฏิบัติตามเงื่อนไข สามารถชักจูงบุคคลอื่นมาเข้าร่วมได้ต่อๆ ไป
สมาชิกรายต้นๆ จะได้ผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้หลายเท่าจากการบรรยายประชาสัมพันธ์ของจำ เลยทั้งสาม นอกจากนี้สมาชิกจะได้รับสิทธิประโยชน์
เช่น ได้สิทธิกู้ยืมเงิน ได้ปันผลหุ้น ได้รับเงินปันผลจากการขายสินค้าได้รับสวัสดิการสงเคราะห์
ได้บำ นาญเลี้ยงชีพ มีผลประโยชน์เกินกว่าที่สถาบันการเงินให้ผลประโยชน์
หากการดำ เนินการมิได้เป็นไปตามคำ ชักจูงก็จะเกิดความเสียหายแก่ผู้เสียหายทั้งแปดสิบห้า
และประชาชนผู้หลงเชื่อมาสมัครรายหลัง และปรากฏว่าผู้เสียหายบางคนได้ผลประโยชน์ตอบแทนเป็นเงินปันผลหุ้นบ้าง
แต่ก็ได้รับเพียงครั้งเดียว เท่านั้น พฤติการณ์ที่จำ เลยทั้งสามเรียกเก็บเงินค่าสมัครจากผู้สมัครเป็นสมาชิก
และผลประโยชน์ตอบแทนที่จำ เลยทั้งสามจะจ่ายให้แก่สมาชิก
ในเงื่อนไขตามรูปแบบสมาชิกดังกล่าว ต้องตามความหมายของบทนิยาม คำ ว่า กู้ยืมเงิน”
และ “ผลประโยชน์ตอบแทน” ตาม
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำ หนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ. ๒๕๒๗ พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๓
ตาม
พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. ๒๕๒๗ มาตรา ๔ ผู้กระทำ ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนจะต้องกู้ยืมเงินโดยตนหรือบุคคลใด “กระทำ” ด้วยประการใดๆ
ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่ ๑๐ คน ขึ้นไปว่าในการกู้ยืมเงินซึ่งจำ เลยทั้งสาม กระทำ การในคดีนี้คือ ชักชวนบุคคลตั้งแต่ ๑๐
คน ขึ้นไปว่า ตนหรือบุคคลใดจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินกู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้
โดยที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใดๆ
โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำ มาจ่ายในอัตรานั้นได้ การโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือการกระทำ ด้วยประการใดๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่
๑๐ คน ขึ้นไป อันจะทำ ให้เป็นความผิดสำ เร็จฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนนั้น
เพียงแต่จำเลยทั้งสามแสดงข้อความดังกล่าวให้ปรากฏแก่ผู้เสียหายบางคนแล้ว
เป็นผลให้ประชาชนหลงเชื่อและนำ เงินมาให้จำ เลยทั้งสามกู้ยืม ก็ถือว่า
เป็นความผิดสำ เร็จแล้ว ดังนั้น
เมื่อมีผู้เสียหายทั้งแปดสิบห้าหลงเชื่อเข้าสมัครเป็นสมาชิกร้านค้าสวัสดิการ ย.
ตามที่จำ เลยทั้งสามร่วมกันชักชวนมีจำ นวนตั้งแต่ ๑๐ คน ขึ้นไป การกระทำ ของจำ เลยทั้งสามจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ตาม พ.ร.ก.การกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.๒๕๒๗ มาตรา ๔ วรรคแรก ด้วย
ความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน ตาม ป.อ.มาตรา
๓๔๓ มิใช่ความผิดต่อส่วนตัว แม้ผู้เสียหายบางคนมีการยอมความแล้ว สิทธินำ คดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานนี้ก็ยังไม่ระงับไป
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา ๓๙ (๒) อีกทั้งความผิดตามฟ้องเกี่ยวโยงกับเศรษฐกิจของประเทศ
อันถือได้ว่าเป็นความปลอดภัยและความมั่นคงของประเทศชาติโดยตรง เป็นความผิดร้ายแรง
ที่ศาลล่างทั้งสองกำ หนดโทษจำ เลยทั้งสามโดยไม่รอการลงโทษให้นั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
ตามฎีกานี้ จำเลยทั้งสามระดมทุนเปิดร้านขายสินค้าปลีกทั่วไป คล้ายรูปแบบสหกรณ์
จำเลยทั้งสามร่วมกันบรรยายให้ข้อมูล มีการจัดบรรยายหลายรอบ
มีประชาชนเข้าร่วมฟังรอบละประมาณ ๑๐ คน แต่ละรอบบรรยายเหมือนเดิม
พระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
พ.ศ.๒๕๒๗
มาตรา ๓ ในพระราชกำ หนดนี้
“กู้ยืมเงิน”
หมายความว่า รับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก
การกู้ การยืม การจำ หน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด
การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทำ การอย่างใดอย่างหนึ่ง
หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงินหรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน
หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้
ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเองหรือรับในฐานะตัวแทนหรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงินหรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน
หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สิน ผลประโยชน์อื่นใด
หรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทำ ด้วยวิธีการใด
ๆ
“ผลประโยชน์ตอบแทน”
หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงิน
หรือบุคคลอื่นจ่ายหรือจะจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้
ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด
มาตรา ๔
ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทำ ด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่สิบคนขึ้นไปว่า
ในการกู้ยืมเงินตนหรือบุคคลใดจะจ่ายหรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้
โดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนำ เงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน
หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ
โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนำ มาจ่ายในอัตรานั้นได้
และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชำ ระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน
ดำ เนินการ หรือให้พนักงาน
ลูกจ้าง หรือบุคคลใดดำ เนินการโฆษณา
ประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุนโดย
(๑)
ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ
(๒) เก็งกำ ไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงิน
ให้ถือว่าผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย
0 Comments
แสดงความคิดเห็น