โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ไม่สามารถจัดการทรัพย์มรดกในส่วนที่เป็นที่ดินมีโฉนดได้
เพราะทายาทไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มาเข้าประชุมเพื่อรับฟังความเห็นร่วมกันในการจัดการและปันทรัพย์มรดก
ถึงแม้หากข้อเท็จจริงจะเป็นดังเช่นที่โจทก์กล่าวอ้างโจทก์ซึ่งมีหน้าที่ในการจัดการและเป็นทรัพย์มรดกก็มีอำนาจดำเนินการจัดการและปันทรัพย์มรดกไปได้โดยไม่จำต้องจัดประชุม
แม้ทายาทไม่เข้าร่วมประชุม จึงยังไม่อาจรับฟังได้ถึงขนาดว่าจำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดกร่วมกับโจทก์ขัดขวางหรือโต้แย้งสิทธิในการทำหน้าที่เป็นผู้จัดการมรดกของโจทก์จนไม่สามารถจัดการมรดกได้
โจทก์ยังไม่ได้ถูกโต้แย้งสิทธิ ไม่มีอำนาจฟ้อง
ตามฎีกานี้ โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกฟ้องขอให้พิพากษาให้โจทก์นำที่ดินอันเป็นทรัพย์มรดกออกขายนำเงินมาแบ่งกันระหว่างโจทก์และจำเลยทั้งห้า
โดยอ้างว่าทายาทไม่เข้าร่วมประชุมเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดก
เพิ่มเติม
เมื่อศาลมีคำสั่งตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว
หน้าที่ในการเป็นผู้จัดการมรดกจะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ได้ฟังหรือถือว่าได้ฟังคำสั่งศาลแล้ว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๖ แม้คำสั่งดังกล่าวจะมีการอุทธรณ์หรือฎีกาต่อมาก็ตาม
แต่หากยังไม่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
บุคคลนั้นก็ยังคงมีฐานะเป็นผู้จัดการมรดก
จึงมีสิทธิและหน้าที่ที่จะกระทำการอันจำเป็นเพื่อจัดการมรดกโดยทั่วไปหรือเพื่อแบ่งปันทรัพย์มรดกตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๑๗๑๙ (ฎีกาที่ ๒๓๖๕/๒๕๕๘)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๕๕
เมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้น เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคลใดตามกฎหมาย แพ่ง
หรือบุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาล บุคคลนั้นชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่
มีเขตอำนาจได้ ตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแพ่งและประมวลกฎหมายนี้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น