จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามหนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่และออกเช็คให้โจทก์
แม้หนังสือสัญญากู้เงินตามกฎหมายใหม่ เขียนว่า เช็คเงินสดเพื่อชำระหนี้เงินกู้ให้ท่านถือไว้เป็นประกันด้วย
ก็ตาม แต่หาใช่ต้องถือตามข้อความที่เป็นลายลักษณ์อักษรโดยฝ่ายเดียวไม่
เมื่อจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และออกเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้
มิใช่ออกเช็คเพื่อเป็นประกัน และหนี้มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย
จำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.๒๕๓๔
มาตรา ๔(๑) (๒)
ข้อเท็จจริง
วันที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๖
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำนวน ๔๐๐,๐๐๐ บาท
และจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์ เช็คเงินสด เลขที่ ๐๐๙๔๖๕๔ ลงวันที่ ๑๑
สิงหาคม ๒๕๕๖ จำนวนเงิน ๔๐๐,๐๐๐ บาท
วันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๕๖
จำเลยทำสัญญากู้ยืมเงินโจทก์จำนวน ๔๒๗,๖๐๐ บาท และจำเลยออกเช็คเพื่อชำระหนี้ให้โจทก์
เช็คเงินสด เลขที่ ๐๐๙๔๖๕๕ ลงวันที่ ๑๑
สิงหาคม ๒๕๕๖ จำนวนเงิน ๔๒๗,๖๐๐ บาท
พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
พ.ศ. ๒๕๓๔
มาตรา ๔ ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง
ดังต่อไปนี้
(๑)
เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
(๒)
ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
(๓) ให้ใช้เงินมีจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
(๔)
ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
(๕)
ห้ามธนาคารมิให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต
เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินโดยชอบด้วยกฎหมาย
ถ้าธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น
ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือทั้งปรับทั้งจำ
มาตรา ๕ ความผิดตามมาตรา ๔
เป็นความผิดอันยอมความได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น