การเปิดคลินิกทันตกรรมของโจทก์ก็เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป
ประชาชนรวมทั้งจำเลยย่อมมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ จำเลยเข้าไปในคลินิกทันตกรรมของโจทก์ในเวลาเปิดทำการแม้จะเป็นการเข้าไปและถ่ายภาพในห้องตรวจรักษาคนไข้ด้วย
ก็เพราะต้องการสอบถามโจทก์ถึงสาเหตุที่โจทก์แย่งลูกค้าไปจากคลินิกของจำเลย
แต่เมื่อโจทก์ให้ตามพนักงานรักษาความปลอดภัยมาไล่ให้จำเลยออกจากคลินิก จำเลยก็มิได้ขัดขืนรีบเดินกลับออกไปทันทีที่เห็นพนักงานรักษาความปลอดภัย
การกระทำของจำเลยยังถือไม่ได้ว่าเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข
ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖๒
ตามฎีกานี้
คลินิกทันตกรรมเป็นสาธารณสถาน จำเลยจึงมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
เพิ่มเติม
สาธารณสถาน มีองค์ประกอบ ๒ ประการ
คือ ๑.สถานที่ใดๆ ๒. ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
สถานที่ใดๆ หมายถึง อาคาร บ้าน เรือนหรือสิ่งปลูกสร้าง
หรือที่ว่างเปล่ามีขอบเขตก็ได้
ประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
คือ ช่วงขณะหนึ่งอาจเป็นที่สาธารณสถาน แต่อีกช่วงขณะหนึ่งอาจไม่เป็นที่สาธารณสถานก็ได้
เช่น โรงแรม ร้านขายอาหาร ร้านขายสินค้า สถานที่ราชการขณะเปิดทำการ เป็นต้น
คำว่า “เข้าไป” หมายความว่า
อย่างน้อยส่วนใหญ่ของร่างกายของผู้กระทำจะต้องเข้าไป
ฎีกาที่ ๘๘๓๒/๒๕๕๙ การที่จำเลยที่
๑ และที่ ๓ เข้าไปด่าโจทก์ในบริเวณบ้านของโจทก์
ยังถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน
หรือเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์โดยปกติสุข
จึงไม่เป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๓๖๒ แต่การที่จำเลยที่ ๑ และที่ ๓ เข้าไปในบริเวณบ้านอันเป็นเคหสถานของโจทก์เพื่อด่าโจทก์ด้วยถ้อยคำหยาบคายเป็นการเข้าไปในเคหสถานของโจทก์โดยไม่มีเหตุอันสมควร
จึงเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา ๓๖๔
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑
ในประมวลกฎหมายนี้
(๓) “สาธารณสถาน” หมายความว่า
สถานที่ใด ๆ ซึ่งประชาชนมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้
มาตรา ๓๖๒ ผู้ใดเข้าไปในอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น
เพื่อถือการครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้น ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือเข้าไปกระทำการใด
ๆ อันเป็นการรบกวนการครอบครองอสังหาริมทรัพย์ของ เขาโดยปกติสุข ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
อ้างอิง
หยุด แสงอุทัย. กฎหมายอาญา ภาค 2-3.
ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
2548.
ดรัญพงศ์
อภิรมย์วิไลชัย. “ การค้นบุคคลในที่สาธารณสถาน.” วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,
2555.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น