จำเลยใช้อาวุธปืนจี้ผู้เสียหายพร้อมพูดข่มขู่ผู้เสียหายให้ส่งเงินให้
จนผู้เสียหายยอมส่งเงินให้แก่จำเลย การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการชิงทรัพย์
โดยมีอาวุธอันมีลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (๗) แห่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา
๓๓๕ จึงเป็นความผิดตามประมวล กฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๙ วรรคสอง การที่จำเลยเป็นผู้มีและใช้อาวุธปืนในการกระทำความผิด
จำเลยจึงมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๓๙ วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา ๓๔๐ ตรี
เพิ่มเติม
“ประทุษร้าย” มีความหมายอย่างเดียวกับการ “ทำร้าย” ตามมาตรา ๒๙๐ และ มาตรา ๒๔๙๕ คือ ทำให้เสียหายเป็นภัยแก่กายหรือจิตใจของบุคคล อย่างไรก็ตาม การทำร้ายตามมาตรา ๒๙๕ จะต้องเกิดผลคือเป็นอันตรายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล
แต่ การ “ทำร้าย” ตามความหมายของการใช้กำลังประทุษร้าย อาจจะไม่ถึงขั้นเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของบุคคล
หรือจะถึงขั้นเกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของบุคคลก็ได้
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๓๙ ผู้ใดลักทรัพย์โดยใช้กำลังประทุษร้าย
หรือขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้าย เพื่อ
(๑) ให้ความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป
(๒) ให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์นั้น
(๓) ยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้
(๔) ปกปิดการกระทำความผิดนั้น หรือ
(๕) ให้พ้นจากการจับกุม
ผู้นั้นกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาท ถึงสองแสนบาท
ถ้าความผิดนั้นเป็นการกระทำที่ประกอบด้วยลักษณะดังที่บัญญัติไว้ในอนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดแห่งมาตรา
๓๓๕ หรือเป็นการกระทำต่อทรัพย์ที่เป็นโค กระบือ
เครื่องกลหรือเครื่องจักรที่ผู้มีอาชีพกสิกรรมมีไว้ สำหรับประกอบกสิกรรม ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงสิบห้าปี
และปรับตั้งแต่สองแสนบาทถึง สามแสนบาท
มาตรา ๓๔๐ ตรี ผู้ใดกระทำ ความผิดตามมาตรา ๓๓๙ มาตรา ๓๓๙ ทวิ
มาตรา ๓๔๐ หรือมาตรา ๓๔๐ ทวิ โดยแต่งเครื่องแบบทหารหรือตำ รวจหรือแต่งกายให้เข้าใจว่าเป็นทหารหรือตำ รวจ หรือโดยมีหรือใช้อาวุธปืนหรือวัตถุระเบิด
หรือโดยใช้ยานพาหนะเพื่อกระทำ ผิด
หรือพาทรัพย์นั้นไป หรือเพื่อให้พ้นการ จับกุม ต้องระวางโทษหนักกว่าที่บัญญัติไว้ในมาตรานั้น
ๆ กึ่งหนึ่ง
อ้างอิง
เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. คำอธิบายกฎหมายอาญาภาคความผิด
เล่ม 4. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บริษัท
กรุงสยาม พับลิชชิ่ง จำกัด, 2557.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น