ชั้นพิจารณาจำเลยแถลงสละประเด็นข้อพิพาทตามคำให้การทั้งหมด จำเลยจึงไม่มีข้อต่อสู้ในเรื่องดอกเบี้ยอีก
การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยคดีในเรื่องดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิคิดได้เพียงไรก็เป็นเรื่องของโจทก์เท่านั้นที่จะโต้แย้งคัดค้าน
จำเลยไม่มีสิทธิโต้แย้งคัดค้าน อุทธรณ์ของจำเลยในเรื่องดอกเบี้ย จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ทั้งไม่ใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน
ต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๒๕ วรรคหนึ่ง
เพิ่มเติม
ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่อาจอุทธรณ์ได้
๑. ต้องกล่าวโดยชัดแจ้งในอุทธรณ์
๒.
ต้องเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
๓.
ต้องเป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
ข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่อุทธรณ์ต้องยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น
จะต้องเป็นข้อที่ได้กล่าวอ้างในคำฟ้องหรือต่อสู้ในคำให้การ
ข้อที่ว่ากันมาแล้วหรือมิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นหรือไม่
จะต้องพิจารณาจากคำฟ้อง คำให้การ และประเด็นข้อพิพาทในคดีเป็นสำคัญ
ไม่ใช่พิจารณาจากข้อเท็จจริงและการนำสืบพยานหลักฐานในชั้นพิจารณา
แม้จำเลยจะได้ถามค้านพยานโจทก์ไว้โดยชัดแจ้ง
แต่เมื่อไม่ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นข้อพิพาทไว้
ก็ไม่ใช่เป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น(ฎีกาที่
๒๗๔๒/๒๕๕๖)
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๒๕ ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างในการยื่นอุทธรณ์นั้นคู่ความจะต้องกล่าวไว้
โดยชัดแจ้งในอุทธรณ์และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น
ทั้งจะต้องเป็นสาระแก่คดี อันควรได้รับการวินิจฉัยด้วย
ถ้าคู่ความฝ่ายใดมิได้ยกปัญหาข้อใดอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นกล่าวในศาลชั้น
ต้นหรือคู่ความฝ่ายใดไม่สามารถยกปัญหาข้อกฎหมายใด ๆ ขึ้นกล่าวในศาลชั้นต้น
เพราะพฤติการณ์ไม่เปิดช่องให้กระทำได้
หรือเพราะเหตุเป็นเรื่องที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติว่าด้วยกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์
คู่ ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างซึ่งปัญหาเช่นว่านั้นได้
อ้างอิง
สมศักดิ์
เอี่ยมพลับใหญ่. หลักทฤษฎีพื้นฐาน - ปฏิบัติอย่างมืออาชีพ อุทธรณ์ - ฎีกา
คดีแพ่ง – คดีอาญา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บัณฑิตอักษร, ๒๕๕๘.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น