จำเลยทั้งสามกับพวกนำผู้ตายไปกักขังเพื่อเรียกค่าไถ่แล้ว
พวกของจำเลยได้ฆ่าผู้ตาย ถือได้ว่าการตายของผู้ตายเป็นผลมาจากการที่จำเลยทั้งสามกับพวกนำผู้ตายไปเพื่อเรียกค่าไถ่
การกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๓ วรรคท้าย แม้จำเลยที่
๒ และที่ ๓ ไม่มีส่วนร่วมในการฆ่าผู้ตายก็ตาม
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๓๒๐๔/๒๕๒๒ แม้จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ มิได้รู้เห็นในการฆ่าด้วย
ก็ต้องถือว่าเนื่องด้วยการกระทำผิดของจำเลยที่ ๑ ที่ ๒ นั้นเองเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย
จำเลยที่ ๑ ที่ ๒ ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๑๓ วรรคท้าย
ฎีกาที่
๔๙๐๔/๒๕๔๔ ผู้ตายต้องตกอยู่ในสภาพถูกบีบคั้นทารุณทั้งทางร่างกาย
และจิตใจอย่างรุนแรงติดต่อกันเป็นเวลานาน การที่ผู้ตายตัดสินใจกระโดดจากห้องพัก
เพื่อฆ่าตัวตายนั้นอาจเป็นเพราะผู้ตายมีสภาพจิตใจที่เปราะบางกว่าผู้เสียหายอื่น
และไม่อาจทนทุกข์ทรมานได้เท่ากับผู้เสียหายอื่นจึงได้ตัดสินใจกระทำเช่นนั้นเพื่อให้พ้นจากการต้องทนทุกข์ทรมาน
พฤติการณ์ฟังได้ว่า การตายของผู้ตายมีสาเหตุโดยตรงมาจากการถูกทรมานโดยทารุณโหดร้าย
จำเลยผิดตามมาตรา ๓๑๓ วรรคท้าย
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๑๓ ผู้ใดเพื่อให้ได้มาซึ่งค่าไถ่
(๑) เอาตัวเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีไป
(๒) เอาตัวบุคคลอายุกว่าสิบห้าปีไป
โดยใช้อุบายหลอกลวง ขู่เข็ญ ใช้กำลังประทุษร้าย ใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม
หรือใช้วิธีข่มขืนใจด้วยประการอื่นใด หรือ
(๓) หน่วงเหนี่ยวหรือกักขังบุคคลใด
ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบห้าปีถึงยี่สิบปี
และปรับตั้งแต่สามแสนบาทถึงสี่แสนบาท หรือจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคแรกเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป
ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังนั้นรับอันตรายสาหัส หรือเป็นการกระทำโดยทรมาน
หรือโดยทารุณโหดร้าย จนเป็นเหตุให้ผู้ถูกกระทำนั้นรับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ
ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต
ถ้าการกระทำความผิดนั้นเป็นเหตุให้ผู้ถูกเอาตัวไป
ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขังนั้นถึงแก่ความตาย ผู้กระทำต้องระวางโทษประหารชีวิต
0 Comments
แสดงความคิดเห็น