การบอกล้างสัญญาระหว่างสมรสซึ่งมิใช่กรณีบอกล้างโมฆียะกรรม
แต่เป็นการขอบอกล้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๔๖๑ นั้น
โดยสภาพเป็นการเฉพาะตัวของสามี หรือภริยาเท่านั้น เมื่อฝ่ายใดถึงแก่กรรม
สิทธิบอกล้างย่อมระงับสิ้นไป ไม่ตกทอดไปยังทายาทในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกองมรดกของผู้ตาย
ทายาทไม่มีสิทธิบอกล้างได้
ตามฎีกานี้
การใช้สิทธิบอกลางของโจทก์ในคดีนี้ไม่ใช่เป็นกรณีที่โจทก์ขอบอกล้างโมฆียะกรรม หากแต่เป็นการขอบอกล้างโดยอาศัยสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๔๖๑ โดยเฉพาะ ศาลฎีกาโดยมติของที่ประชุมใหญ่ วินิจฉัยว่า สัญญาซึ่งสามีภริยาได้ทำ ไว้ต่อกันในระหว่างเป็นสามีภริยาดังเช่นสัญญาแบ่งทรัพย์สินฉบับพิพาทนี้
อาจเป็นเรื่องที่จัดทำ ขึ้นโดยมีเหตุผลอันสมควรก็ได้
หรืออาจเป็นเรื่องที่จัดทำ ขึ้นโดยอาศัยอารมณ์ของคู่สมรสในขณะทำ สัญญาเป็นที่ตั้งก็ได้ กฎหมายจึงได้บัญญัติให้เป็นสิทธิของคู่สมรสในอันที่จะบอกล้างได้
แม้ในระหว่างสมรสนั้นเอง หรือภายในหนึ่งปีหลังจากที่การสมรสขาดจากกัน
สัญญาประเภทนี้ย่อมเห็นได้โดยแจ้งชัดในตัวเองว่า
เป็นเรื่องส่วนตัวระหว่างสามีกับภริยาโดยเฉพาะ แม้ว่าผลของสัญญานี้อาจกระทบกระเทือนถึงส่วนได้เสียของทายาทของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายก็ตาม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๖๐๐
ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย
ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว
เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้
หมายเหตุ หนังสือรวมคำบรรยายเนติบัณฑิต ภาคหนึ่ง สมัยที่ ๗๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒
เล่มที่ ๑ อาจารย์กีรติ กาญจนรินทร์ บรรยายไว้ว่า สามารถออกข้อสอบได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น