จำเลยที่ ๒ ให้การปฏิเสธเพียงว่า จำเลยที่
๑ จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ ๒ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและเป็นไปตามกระบวนการไกล่เกลี่ยประนีประนอมข้อพิพาทของศาลอุทธรณ์ภาค
๗ เพื่อหาข้อยุติทางคดีนั้นชอบด้วยกฎหมาย ไม่ได้ทำให้โจทก์เสียเปรียบและไม่เป็นการฉ้อฉล
โดยมิได้ให้การปฏิเสธว่า จำเลยที่ ๒ ไม่ทราบว่าจำเลยที่ ๑ เป็นลูกหนี้ของโจทก์
และไม่ทราบว่า จำเลยที่ ๑ และ ป. มีเจ้าหนี้หลายราย มีภาระหนี้จำนวนมากและไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์
ประกอบกับจำเลยที่ ๒ รู้อยู่แล้วทั้งก่อนและในขณะรับโอนที่ดินพิพาทว่าจำเลยที่ ๑
เป็นลูกหนี้ของโจทก์ และรู้อยู่แล้วว่าจำเลยที่ ๑ และ ป. มีเจ้าหนี้หลายราย มีภาระหนี้จำนวนมากและไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะชำระหนี้ให้แก่โจทก์
จำเลยที่ ๑ กลับเลือกชำระหนี้โดยโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ ๒
ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อีกรายหนึ่งของตนไป ย่อมมีผลทำให้ทรัพย์สินของจำเลยที่ ๑
ลดน้อยลงและโจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ไม่สามารถยึดทรัพย์บังคับคดีแก่ที่ดินดังกล่าวได้
หรือเสียโอกาสในการขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์
หากมีการยึดที่ดินพิพาทโดยเจ้าหนี้รายใดรายหนึ่ง การที่จำเลยที่ ๑
จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของจำเลยที่ ๑ ให้แก่จำเลยที่ ๒ จึงเป็นการทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่
๑ เสียเปรียบอันเป็นการฉ้อฉล โจทก์มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทได้
ตามฎีกานี้ หนังสือรวมคำบรรยาย
ภาคหนึ่ง สมัยที่ ๗๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ เล่ม ๒ บทบรรณาธิการ อาจารย์ประเสริฐ
เสียงสุทธิวงศ์ ตั้งคำถามว่า “ลูกหนี้มีเจ้าหนี้หลายราย มีภาระหนี้จำนวนมากกลับเลือกชำระหนี้
โดยโอนที่ดินให้แก่เจ้าหนี้รายหนึ่งของตนไป โดยเจ้าหนี้ที่ได้รับชำระหนี้รู้อยู่ว่าลูกหนี้
มีเจ้าหนี้หลายรายและไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะชำระหนี้ได้ เจ้าหนี้ที่ไม่ได้รับชำระหนี้มีสิทธิร้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการจดทะเบียนโอนที่ดินดังกล่าวหรือไม่”
เพิ่มเติม
ลูกหนี้ต้องรู้ว่านิติกรรมที่ทำขึ้นนั้นทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
ลูกหนี้ต้องรู้ว่าทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบจึงจะขอเพิกถอนการฉ้อฉลได้ตามมาตรา ๒๓๗
ได้ ลูกหนี้อาจจะรู้จากผู้ใดก็ได้ เช่น ทราบจากเจ้าพนักงานที่ดิน เมื่อไปทำนิติกรรมโอนกรรมสิทธิ์กับเจ้าพนักงานที่ดินว่าเจ้าหนี้ได้ขอให้ระงับการทำนิติกรรมไว้
(ฎีกาที่ ๗๘๒๔/๒๕๕๓)
การรู้ของลูกหนี้ต้องรู้อยู่ในขณะทำนิติกรรม
ถ้าขณะนั้นไม่รู้ แต่มารู้ภายหลังก็ไม่อาจเพิกถอนได้
และถือเอาการรู้ของลูกหนี้เป็นสำคัญโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าลูกหนี้จะจงใจฉ้อฉลเจ้าหนี้หรือไม่
ทั้งจะต้องเป็นการที่ลูกหนี้รู้จริง ๆ ไม่รวมถึงควรจะรู้ด้วย
การที่ลูกหนี้จะรู้หรือไม่เป็นเรื่องภายในจิตใจของลูกหนี้
ซึ่งต้องพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๓๗ เจ้าหนี้ชอบที่จะร้องขอให้ศาลเพิกถอนเสียได้ซึ่งนิติกรรมใด
ๆ อันลูกหนี้ ได้กระทำลงทั้งรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
แต่ความข้อนี้ท่านมิให้ใช้บังคับ ถ้าปรากฏ ว่าในขณะที่ทำนิติกรรมนั้น
บุคคลซึ่งเป็นผู้ได้ลาภงอกแต่การนั้นมิได้รู้เท่าถึงข้อความจริงอัน
เป็นทางให้เจ้าหนี้ต้องเสียเปรียบนั้นด้วย แต่หากกรณีเป็นการทำให้โดยเสน่หา
ท่านว่าเพียงแต่ ลูกหนี้เป็นผู้รู้ฝ่ายเดียวเท่านั้นก็พอแล้วที่จะขอเพิกถอนได้
บทบัญญัติดังกล่าวมาในวรรคก่อนนี้
ท่านมิให้ใช้บังคับแก่นิติกรรมใดอันมิได้มีวัตถุเป็น สิทธิในทรัพย์สิน
อ้างอิง
ไพโรจน์
วายุภาพ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหนี้. พิมพ์ครั้งที่ 12.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์บริษัท กรุงสยาม
พับลิชชิ่ง จำกัด, 2561.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น