ที่ดินตาม
ส.ป.ก.๔ – ๐๑ จะโอนสิทธิในที่ดินไปยังผู้อื่นมิได้
เว้นแต่ตกทอดทางมรดกแก่ทายาทโดยธรรมตามพระพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๓๙
การที่โจทก์ซึ่งเป็นผู้ได้รับสิทธิให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินขายที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินตาม
ส.ป.ก.๔ – ๐๑ ให้แก่จำเลย ถือว่าเป็นการโอนสิทธิในที่ดิน
นิติกรรมระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งตามกฎหมายเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๕๐ ไม่มีผลบังคับ
ในเขตปฏิรูปที่ดินนั้น
บุคคลที่มิได้รับจัดสรรจากคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมไม่มีสิทธิแย่งการครอบครองผู้ที่ได้รับจัดสรรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๓๗๕ ได้ ตามพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.๒๕๑๘ มาตรา ๓๗ เพราะเมื่อผู้ได้รับจัดสรรที่ดินละทิ้งการครอบครองไป
การครอบครองที่ดินก็กลับตกมาเป็นของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมใหม่ซึ่งสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมีอำนาจหน้าที่ที่จะจัดให้เกษตรกรที่เหมาะสมได้รับต่อไป
และไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้พิจารณาและอนุมัติให้จำเลยได้รับสิทธิในที่ดินพิพาท
จึงไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินขึ้นมาได้
โจทก์ซึ่งได้รับสิทธิให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินได้แบ่งขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยและได้ส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทให้แก่จำเลย
ทั้งจำเลยได้เสียภาษีบำรุงท้องที่ในนามของตนอีกด้วย การที่โจทก์กลับมาอ้างว่าเป็นผู้มีสิทธิตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน
(ส.ป.ก. ๔ – ๐๑ ) และฟ้องบังคับขับไล่จำเลยเช่นนี้ เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สิทธิ
แม้จำเลยจะไม่มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็เป็นกรณีที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและระเบียบหลักเกณฑ์ต่อไป
ตามฎีกานี้
ศาลฎีกาพิพากษายืน(ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง)
ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำเนาคำพิพากษาศาลฎีกานี้ให้สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมทราบ
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕ ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี ในการชำระหนี้ก็ดี
บุคคลทุกต้องกระทำโดยสุจริต
มาตรา ๑๕๐ การใดมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นการพ้นวิสัยหรือเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
การนั้นเป็นโมฆะ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น