หุ้นเป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสิทธิและหน้าที่หรือส่วนได้เสียของโจทก์ร่วมทั้งสองที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยที่
๑ ไม่ใช่ทรัพย์ที่จะเบียดบังยักยอกอันจะเป็นความผิดฐานยักยอกตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๒
ได้ ทั้งจำเลยทั้งสามเป็นเพียงการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
ยังหามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
การกระทำของจำเลยทั้งสามไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
เมื่อหุ้นที่โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยช่วยซ่อนเร้นหรือรับไว้ไม่ใช่ทรัพย์ที่ถูกยักยอก
ดังนี้ ย่อมขาดองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๗
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๑๓๐๘๙ – ๑๓๐๙๐/๒๕๕๘ ความผิดฐานยักยอก
ตาม ป.อ. มาตรา ๓๕๒ นั้น
ทรัพย์อันเป็นวัตถุแห่งการกระทำที่ผู้กระทำความผิดครอบครองอยู่จะต้องเป็นวัตถุที่มีรูปร่างหรือจับต้องสัมผัสได้
แต่หุ้นตามฟ้องเป็นเพียงสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงสิทธิและหน้าที่หรือส่วนได้เสียของโจทก์ร่วมทั้งสองที่มีอยู่ในบริษัทจำเลยที่
1 จึงไม่ใช่ทรัพย์ที่จะเบียดบังยักยอกได้
ทั้งปรากฏว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นเพียงการยื่นคำขอจดทะเบียนแก้ไขบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นต่อนายทะเบียนเท่านั้น
ยังหามีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์ในหุ้นของโจทก์ร่วมทั้งสองไม่
การกระทำของจำเลยทั้งสามตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานยักยอก
ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย
ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๕ วรรคสอง ประกอบ มาตรา
๒๒๕
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๕๒ ผู้ใดครอบครองทรัพย์ซึ่งเป็นของผู้อื่น
หรือซึ่งผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วย เบียดบังเอาทรัพย์นั้นเป็นของตนหรือบุคคลที่สามโดยทุจริต ผู้นั้นกระทำความผิดฐานยักยอก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าทรัพย์นั้นได้ตกมาอยู่ในความครอบครองของผู้กระทำความผิด
เพราะผู้อื่นส่งมอบให้โดยสำคัญผิดไปด้วยประการใด
หรือเป็นทรัพย์สินหายซึ่งผู้กระทำความผิดเก็บได้
ผู้กระทำต้องระวางโทษแต่เพียงกึ่งหนึ่ง
มาตรา ๓๕๗ ผู้ใดช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย
ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ
รับจำนำหรือรับไว้โดยประการใดซึ่งทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิด
ถ้าความผิดนั้นเข้าลักษณะลักทรัพย์ วิ่งราวทรัพย์ กรรโชก รีดเอาทรัพย์ ชิงทรัพย์
ปล้นทรัพย์ ฉ้อโกง ยักยอก หรือเจ้าพนักงานยักยอกทรัพย์ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานรับของโจร ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น
ได้กระทำเพื่อค้ากำไรหรือได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๕
(๑๐) ชิงทรัพย์ หรือปล้นทรัพย์ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี
และปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาทถึงสองแสนบาท
ถ้าการกระทำความผิดฐานรับของโจรนั้น
ได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการลักทรัพย์ตามมาตรา ๓๓๕ ทวิ การชิงทรัพย์ตามมาตรา
๓๓๙ ทวิ หรือการปล้นทรัพย์ตามมาตรา ๓๔๐ ทวิ ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึง
0 Comments
แสดงความคิดเห็น