พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่ง
ชาติ พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๙๗ บัญญัติว่า ผู้ใดกระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใด โดยมิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการทำลายหรือทำให้สูญหายหรือเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติ
ซึ่งเป็นของรัฐหรือเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายให้แก่รัฐตามมูลค่าทั้งหมดของทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกทำลาย สูญหาย หรือเสียหายไปนั้น
เป็นการบัญญัติกฎหมายเพื่อใช้สำหรับผู้กระทำหรือละเว้นการกระทำด้วยประการใดโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพยากรธรรมชาติของรัฐหรือสาธารณสมบัติของแผ่นดิน
อันมีลักษณะเป็นการกระทำละเมิดต่อรัฐ
ซึ่งคำนึงถึงความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางตรง
และทางอ้อม การกำหนดค่าเสียหายเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมจึงไม่อาจนำหลักเกณฑ์การกำหนดค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา
๔๓๘ ซึ่งเป็นการกำหนดค่าเสียหายแก่บุคคลในทางแพ่งมาใช้บังคับได้
ตามฎีกานี้
คดีมีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของโจทก์ว่า
การกำหนดค่าเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติซึ่งเป็นของรัฐตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
พ.ศ.๒๕๓๕ มาตรา ๙๗ จะนำหลักเกณฑ์การกำหนดค่าเสียหายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๓๘ มาใช้บังคับได้หรือไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๔๓๘ ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้น
ให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
อนึ่ง
ค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหาย ต้องเสียไปเพราะละเมิด หรือ
ใช้ราคาทรัพย์สินนั้น รวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึ่งบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด
ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย
เพิ่มเติม
มาตรา ๔๓๘ นี้
เป็นหลักทั่วไปในการกำหนดค่าสินไหมทดแทน แต่อย่างไรก็ตามในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติวิธีการกำหนดค่าสินไหมทดแทนไว้โดยเฉพาะ
คือกรณีตามมาตรา ๔๓๙ ถึง ๔๔๗ หรือกฎหมายพิเศษอื่น ก็เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดนั้น
เช่น พ.ร.บ.รับขนของทางทะเล พ.ศ.๒๕๓๔ มาตรา ๓๙ ประกอบมาตรา ๕๘ และ ๖๐ (ฎีกาที่
๑๖๓๙/๒๕๔๙)
อ้างอิง
เพ็ง เพ็งนิติ. คำอธิบายประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ว่าด้วยละเมิด พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
พ.ศ.2539 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยงข้อง. พิมพ์ครั้งที่ 10 – ฉบับปรับปรุงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา,
2560.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น