ส. และ ผ. ยกที่ดินพิพาทให้แก่พระ บ.
เพื่อใช้สร้างวัด และพระ บ. ได้แสดงเจตนารับการยกให้ที่ดินพิพาทด้วยการสร้างสำนักสงฆ์และสร้างวัดโจทก์
ก่อนที่ ส. จะนำที่ดินพิพาทไปออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ และนำไปขายฝากแก่ น.
แล้วมิได้ไถ่ถอน จากนั้นมีการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเรื่อยมาจนกระทั่งที่ดินพิพาทตกเป็นของจำเลยที่
๑ ซึ่งการที่ ส. ยกที่ดินพิพาทให้แก่พระ บ. และพระ บ. แสดงเจตนารับการยกให้ที่ดินพิพาทด้วยการสร้างสำนักสงฆ์และสร้างวัดโจทก์ขึ้นดังกล่าวย่อมเป็นผลให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของแผ่นดินสำหรับใช้สร้างวัดตามเจตนาของผู้อุทิศทันทีโดยไม่จำต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนการให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๕๒๕ ทั้งทำให้ที่ดินพิพาทอยู่ในสถานะเป็นที่ธรณีสงฆ์ ตาม
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๓๓ (๒) โดยสมบูรณ์ตั้งแต่บัดนั้น
และเมื่อที่ดินพิพาทตกเป็นของวัดโจทก์แล้วกรณีต้องบังคับตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์
พ.ศ.๒๕๐๕ มาตรา ๓๔ ซึ่งได้วางหลักเกณฑ์ว่าการโอนกรรมสิทธิ์ที่วัดหรือที่ธรณีสงฆ์จะกระทำได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติเท่านั้น
ประเด็น ที่ว่าจำเลยที่ ๑ รับโอนที่ดินพิพาทมาโดยสุจริตเสียค่าตอบแทนและถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่
จึงไม่จำต้องวินิจฉัยเนื่องจากจำเลยที่ ๑ ไม่มีสิทธิตั้งแต่แรกที่จะรับโอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของวัดโจทก์มาเป็นกรรมสิทธิ์
ของตน และมีผลทำให้การที่จำเลยที่ ๑ นำที่ดินพิพาทไปจำนองไว้แก่จำเลยที่ ๒
เป็นนิติกรรมที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วยในตัว
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๑๔๕๙๕/๒๕๕๘ ป.พ.พ.
ลักษณะ ๑๒ จำนอง หมวด ๕ สิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง มาตรา ๗๓๖ ถึงมาตรา
๗๔๓ ได้บัญญัติรับรองถึงสิทธิและหน้าที่ของผู้รับโอน ทรัพย์สินซึ่งจำนองไว้ย่อมแสดงว่า
ผู้จำนองย่อมมีสิทธิโอนทรัพย์สินซึ่งจำนองไปยังบุคคลอื่นได้ในฐานะที่ผู้จำนองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินซึ่งจานองตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๗๐๕ ผู้จำนองจึงมีสิทธิจำหน่ายทรัพย์สินซึ่งจานองได้ ตาม ป.พ.พ.
มาตรา ๑๓๓๖ และมาตรา ๗๐๒ วรรคสอง
คดีนี้ไม่ได้มีการจดทะเบียนสิทธิการโอนที่ดินพิพาทจาก ร. ให้แก่ทางราชการ
และผู้รับจำนองได้ฟ้องบังคับจำนองและจดทะเบียนระงับจำนองไป กรณีไม่อาจปรับเข้ากับ
ป.พ.พ. มาตรา ๗๒๒ ซึ่งเป็นเรื่องขอให้ลบสิทธิที่จดทะเบียนออกจากทะเบียน หากผู้รับจำนองเสื่อมสิทธิได้รับความเสียหายอย่างใด
ก็เป็นเรื่องที่ผู้รับจำนองต้องไปว่ากล่าวเอาแก่ผู้จำนองต่อไป ร. ผู้จำนองจึงมีสิทธิอุทิศที่ดินพิพาทให้แก่ทางราชการได้
เมื่อ ร. ได้อุทิศที่ดินพิพาทให้แก่ทางราชการเพื่อก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
กรมพัฒนาชุมชน ซึ่งต่อมาโอนสิทธิและหน้าที่ให้แก่จำเลย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินใช้เพื่อประโยชน์ของแผ่นดินโดยเฉพาะนับแต่วันที่
ร. แสดงเจตนายกให้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๓๐๔(๓) โดยไม่จำต้องจดทะเบียนการยกให้ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม
ป.พ.พ. มาตรา ๕๒๕ การอุทิศที่ดินพิพาทของ ร. ให้แก่ทางราชการจึงชอบด้วยกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๒๕ การให้ทรัพย์สินซึ่งถ้าจะซื้อขายกันจะต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่นั้น
ท่านว่าย่อมสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
ในกรณีเช่นนี้ การให้ย่อมเป็นอันสมบูรณ์โดยมิพักต้องส่งมอบ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น