แม้โจทก์และ ม. พากันไปทำคำขอเอาประกันภัยโดยระบุให้
ม. เป็นผู้ขอเอาประกันภัยและให้โจทก์เป็นผู้รับประโยชน์ แต่ลายพิมพ์นิ้วมือในช่องลงลายมือชื่อของผู้ขอเอาประกันภัยมิใช่ลายพิมพ์นิ้วมือของ
ม. และโจทก์เป็นผู้ชำระเบี้ยประกันภัยแก่จำเลย โดยมิใช่เป็นการ สำรองจ่ายแทน ม. ไปก่อน
ถือว่าโจทก์ตกลงเป็นผู้ส่งเบี้ยประกันภัยแก่จำเลย และเป็นผู้จัดการให้ ม. ทำสัญญาประกันภัย
ถือว่าโจทก์เป็นผู้เอาประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๖๒ ส่วน ม.
มิใช่ผู้เอาประกันภัยแต่เป็นเพียงผู้ที่ถูกโจทก์เอาประกันภัยเท่านั้น
โจทก์อยู่กินฉันสามีภริยากับ ม. ทั้งที่โจทก์อยู่กินเป็นสามี ภริยากับ
ส. ภริยาตามกฎหมายของโจทก์ และการทำสัญญาประกันภัย ม. ที่โจทก์เป็นผู้เอาประกันภัยนั้นก็เพียงเพื่อหวังผลประโยชน์จากการทำสัญญาประกันภัย
ถือว่าโจทก์มิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัย สัญญาประกันภัยไม่ผูกพันคู่สัญญา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๘๖๓ โจทก์ไม่อาจเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย
และไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยรับผิด
ปัญหาว่า โจทก์มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยหรือไม่
เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแต่ต้น
ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
ตามฎีกานี้
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบพยานหลักฐานว่าได้อยู่กินฉันสามีภริยากับ ม.
โดยชัดเจนในลักษณะใด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘๖๒ ตามข้อความในลักษณะนี้
คำว่า “ผู้รับประกันภัย” ท่านหมายความว่า
คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้
คำว่า “ผู้เอาประกันภัย” ท่านหมายความว่า
คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย
คำว่า “ผู้รับประโยชน์” ท่านหมายความว่า
บุคคลผู้จะพึงได้รับค่าสินไหมทดแทนหรือรับจำนวนเงินใช้ให้
อนึ่ง
ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์นั้น จะเป็นบุคคลคนหนึ่งคนเดียวกันก็ได้
มาตรา ๘๖๓ อันสัญญาประกันภัยนั้น
ถ้าผู้เอาประกันภัยมิได้มีส่วนได้เสียในเหตุที่ประกันภัยไว้นั้นไซร้
ท่านว่าย่อมไม่ผูกพันคู่สัญญาแต่อย่างหนึ่งอย่างใด
มาตรา ๘๘๙
ในสัญญาประกันชีวิตนั้น การใช้จำนวนเงินย่อมอาศัยความทรงชีพหรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง
0 Comments
แสดงความคิดเห็น