โจทก์บรรยายฟ้องแยกข้อหาความผิดของจำเลยที่ ๓ ในข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการตาม
ป.อ. มาตรา ๒๖๗ และข้อหาเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตตาม
ป.อ. มาตรา ๑๕๗ เป็นกรณีต่างกรรมกันดังนั้น
สิทธิในการอุทธรณ์ของโจทก์ต้องพิจารณาจากอัตราโทษตามที่บัญญัติไว้ สำหรับความผิดแต่ละกรรมเป็นสำคัญ
เมื่อความผิดข้อหาแจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการ ตาม
ป.อ. มาตรา ๒๖๗ (เดิม) มีระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๓ ทวิ
บทมาตรา ๑๕๗ บัญญัติว่า “ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
ต้องระวางโทษ” คำฟ้องของโจทก์
มุ่งหมายขอให้ลงโทษจำเลยที่ ๓ และที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๗
เพราะเหตุที่จำเลยดังกล่าว ปฏิบัติหน้าที่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ฉะนั้นสาระสำคัญของความผิดย่อมอยู่ที่เจตนาในการกระทำเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด
อันเป็นองค์ประกอบความผิดประการหนึ่งด้วย เมื่อโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ ๓ และที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๗ ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบนั้น จำเลยที่ ๓ ที่ ๑๑ ถึงที่ ๑๗ กระทำลงด้วยเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์
คำฟ้องของโจทก์เกี่ยวกับข้อหานี้จึงไม่สมบูรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๕)
ป.วิ.อ. มาตรา ๑๙๓ วรรคสอง
ประกอบมาตรา ๒๑๖ วรรคหนึ่ง และ มาตรา ๒๒๕ วางหลักว่า ฎีกาทุกฉบับต้องมีข้อคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ ระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำดับ คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องในความผิดข้อหาร่วมกันปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต
โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค ๘ พิพากษายืน โจทก์ฎีกาโดยคัดลอกข้อความในคำฟ้องอุทธรณ์ตั้งแต่บรรทัดที่ ๑๖ ของหน้าที่ ๑๑ ถึงบรรทัดที่ ๑
ของหน้าที่ ๒๗ มาไว้ในคำฟ้องฎีกาทั้งสิ้น
และศาลอุทธรณ์ภาค ๘ ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว
ฎีกาของโจทก์ มิได้ยกเหตุผลคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
๘ ว่าไม่ถูกต้อง หรือคลาดเคลื่อนอย่างไร ที่ถูกแล้วศาลอุทธรณ์ภาค ๘
ควรวินิจฉัยอย่างไร และด้วยเหตุผลใด ไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๒๑ ได้
แม้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณา และลงชื่อในคำพิพากษาศาลชั้นต้นอนุญาตให้ฎีกาและศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์มาก็เป็นการไม่ชอบ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๙๓ คดีอุทธรณ์คำ พิพากษาหรือคำ สั่งศาลชั้นต้นในข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายให้อุทธรณ์ไป
ยังศาลอุทธรณ์ เว้นแต่จะถูกห้ามอุทธรณ์โดยประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่น
อุทธรณ์ทุกฉบับต้องระบุข้อเท็จจริงโดยย่อหรือข้อกฎหมายที่ยกขึ้นอ้างอิงเป็นลำ ดับ
มาตรา ๑๙๓ ทวิ ห้ามมิให้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีซึ่งอัตราโทษอย่างสูงตามที่กฎหมายกำหนดไว้ให้จำคุกไม่เกินสามปี
หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
เว้นแต่กรณีต่อไปนี้ให้จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงได้
(๑) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุกหรือให้ลงโทษกักขังแทนโทษจำคุก
(๒) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษจำคุก แต่ศาลรอการลงโทษไว้
(๓) ศาลพิพากษาว่าจำเลยมีความผิด แต่รอการกำหนดโทษไว้ หรือ
(๔) จำเลยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษปรับเกินหนึ่งพันบาท
มาตรา ๒๑๖
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา ๒๑๗ ถึง ๒๒๑ คู่ความมีอำนาจฎีกาคัดค้านคำพิพากษา หรือคำสั่งศาลอุทธรณ์ภายในหนึ่งเดือน
นับแต่วันอ่าน หรือถือว่าได้อ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นให้คู่ความฝ่ายที่ฎีกาฟัง
มาตรา ๒๒๑ ในคดีซึ่งห้ามฎีกาไว้โดยมาตรา
๒๑๔, ๒๑๕ และ ๒๒๐ แห่งประมวลกฎหมายนี้
ถ้าผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณา หรือลงชื่อในคำ พิพากษาหรือทำ ความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์พิเคราะห์เห็นว่าข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำ คัญอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา
หรืออธิบดีกรมอัยการลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัย
ก็ให้รับฎีกานั้นไว้พิจารณาต่อไป
มาตรา ๒๒๕ ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณา และว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่งชั้นอุทธรณ์มาบังคับในชั้นฎีกาโดยอนุโลม เว้นแต่ห้ามมิให้ทำความเห็นแย้ง
0 Comments
แสดงความคิดเห็น