การที่จำเลยซื้อทรัพย์สินซึ่งติดจำนองจากการขายทอดตลาด
คงทำให้จำเลยเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์จำนอง หาทำให้จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ ในฐานะเป็นผู้จำนองแต่อย่างใดไม่ และจำเลยในฐานะผู้รับโอนทรัพย์จำนอง มีสิทธิและหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ลักษณะ ๑๒ หมวด ๕ จำเลยมีสิทธิไถ่ถอนจำนองโดยเสนอรับใช้เงินเป็นจำนวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น
ซึ่งหากโจทก์ไม่ยอมรับ โจทก์ซึ่งยังทรงสิทธิจำนองต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันมีคำเสนอ เพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำนอง ตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติในมาตรา ๗๓๘ และ ๗๓๙ และหากจำเลยไม่ได้ใช้สิทธิเสนอไถ่ถอนจำนองและโจทก์ประสงค์จะบังคับจำนอง ก็ต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่จำเลยล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อน แล้วจึงจะบังคับจำนองได้ ตามมาตรา ๗๓๕ ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่า จำเลยไม่ไถ่จำนองและโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยตาม ป.พ.พ.
มาตรา ๗๓๕ แล้ว จำเลยเพิกเฉย จึงถือว่าจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยได้ ตาม
ป.วิ.พ.มาตรา ๕๕
ตามฎีกานี้ เมื่อวันที่ ๒๑
พฤษภาคม ๒๕๕๒ ส. ทำสัญญากู้เงินจากโจทก์
และจดทะเบียนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ ๑๐๗๑๗๗
พร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกัน ต่อมาโจทก์ฟ้องบังคับ ส. ต่อศาลจังหวัดธัญบุรีและคดีถึงที่สุดโดยโจทก์และ
ส. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ ต่อมา ท. เจ้าหนี้ในคดีของศาลแขวงธนบุรี นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์จำนองดังกล่าว ออกขายทอดตลาดโดยการจำนองติดไป และจำเลยในคดีนี้เป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดโดยการจำนองติดไป จำเลยจึงเป็นเพียงผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งมีภาระจำนอง โจทก์มีหนังสือบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้และไถ่ถอนจำนอง แต่จำเลยเพิกเฉย
คดีมีปัญหาว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะผู้รับโอนทรัพย์จำนองหรือไม่
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๗๓๕ เมื่อผู้รับจำนองคนใดจะบังคับจำนองเอาแก่ผู้รับโอนทรัพย์สินซึ่งจำนอง ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวแก่ผู้รับโอนล่วงหน้าเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่าหกสิบวันก่อน
จึงจะบังคับจำนองได้
มาตรา ๗๓๘
ผู้รับโอนซึ่งประสงค์จะไถ่ถอนจำ นองต้องบอกกล่าวความประสงค์นั้นแก่ลูกหนี้ชั้นต้น
และต้องส่งคำ เสนอไปยังบรรดาเจ้าหนี้ที่ได้จดทะเบียน
ไม่ว่าในทางจำ นองหรือประการอื่น
ว่าจะรับใช้เงินให้เป็นจำ นวนอันสมควรกับราคาทรัพย์สินนั้น
คำเสนอนั้นให้แจ้งข้อความทั้งหลายต่อไปนี้
คือ
(๑) ตำ แหน่งแหล่งที่และลักษณะแห่งทรัพย์สินซึ่งจำ นอง
(๒) วันซึ่งโอนกรรมสิทธิ์
(๓) ชื่อเจ้าของเดิม
(๔) ชื่อและภูมิลำ เนาของผู้รับโอน
(๕) จำ นวนเงินที่เสนอว่าจะใช้
(๖) คำ นวณยอดจำ นวนเงินที่ค้างชำ ระแก่เจ้าหนี้คนหนึ่ง ๆ
รวมทั้งอุปกรณ์และจำ นวนเงินที่จะจัดเป็นส่วนใช้แก่บรรดาเจ้าหนี้ตามลำ ดับกัน
อนึ่ง ให้คัดสำ เนารายงานจดทะเบียนของเจ้าพนักงานในเรื่องทรัพย์สินซึ่งจำ นองนั้น อันเจ้าพนักงานรับรองว่าเป็นสำ เนาถูกถ้วนสอดส่งไปด้วย
มาตรา ๗๓๙ ถ้าเจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดไม่ยอมรับคำ เสนอ
เจ้าหนี้คนนั้นต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในเดือนหนึ่งนับแต่วันมีคำ เสนอเพื่อให้ศาลพิพากษาสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินซึ่งจำ นองนั้น
แต่ว่าเจ้าหนี้นั้นจะต้องปฏิบัติการดังจะกล่าวต่อไปนี้ด้วย คือ
(๑)
ออกเงินทดรองค่าฤชาธรรมเนียมการขายทอดตลาด
(๒) ต้องเข้าสู้ราคาเอง
หรือแต่งคนเข้าสู้ราคาเป็นจำ นวนเงินสูงกว่าที่ผู้รับโอนเสนอจะใช้
(๓)
บอกกล่าวการที่ตนไม่ยอมนั้นให้ผู้รับโอนและเจ้าหนี้คนอื่น ๆ บรรดาได้จดทะเบียน
กับทั้งเจ้าของทรัพย์คนก่อนและลูกหนี้ชั้นต้นทราบด้วย
0 Comments
แสดงความคิดเห็น