คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๖๕๖/๒๕๖๑
จำเลยที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ เป็นผู้จำนองที่ดินประกันหนี้ของ ส. ซึ่งแม้ตามข้อตกลงการทำสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ ตกลงยินยอมร่วมรับผิดกับลูกหนี้ แต่เหตุอายุความสะดุดหยุดลงเป็นเรื่องเฉพาะตัว ส. ย่อมเป็นโทษแก่ ส. เท่านั้น ไม่มีผลถึงจำเลย ที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ผู้จำนองด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๙๕ วรรคสอง จะถือว่าจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ เปรียบเสมือนผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๖๙๒ ไม่ได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจเรียกร้องบังคับให้ลูกหนี้รับผิดใช้หนี้คืนเงินส่วนที่ขาดจากการบังคับจำนอง คดีโจทก์ขาดอายุความ
จำเลยที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ เป็นผู้จำนองที่ดินประกันหนี้ของ ส. ซึ่งแม้ตามข้อตกลงการทำสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ ตกลงยินยอมร่วมรับผิดกับลูกหนี้ แต่เหตุอายุความสะดุดหยุดลงเป็นเรื่องเฉพาะตัว ส. ย่อมเป็นโทษแก่ ส. เท่านั้น ไม่มีผลถึงจำเลย ที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ผู้จำนองด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๒๙๕ วรรคสอง จะถือว่าจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ เปรียบเสมือนผู้ค้ำประกันตามมาตรา ๖๙๒ ไม่ได้ การที่โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้นำคดีมาฟ้องจำเลยที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๖ เกิน ๑๐ ปี นับแต่วันที่โจทก์อาจเรียกร้องบังคับให้ลูกหนี้รับผิดใช้หนี้คืนเงินส่วนที่ขาดจากการบังคับจำนอง คดีโจทก์ขาดอายุความ
ตามฎีกานี้
หนังสือรับชำระหนี้ ที่ ส. ทำให้ไว้แก่ บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ฯ
จะครบอายุความในวันที่ ๑๗ มิถุนายน ๒๕๕๐ และโจทก์ฟ้องคดีนี้ในวันที่
๒๓ มิถุนายน ๒๕๕๘
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๙๕ ข้อความจริงอื่นใด
นอกจากที่ระบุไว้ในมาตรา ๒๙๒ ถึง ๒๙๔ นั้น เมื่อเป็นเรื่องเท้าถึง
ตัวลูกหนี้ร่วมกันคนใดก็ย่อมเป็นไปเพื่อคุณและโทษแต่เฉพาะแก่ลูกหนี้คนนั้น เว้นแต่จะปรากฏว่าขัดกับสภาพแห่งหนี้นั้นเอง
ความที่ว่ามานี้
เมื่อจะกล่าวโดยเฉพาะก็คือว่าให้ใช้แก่การให้คำบอกกล่าวการผิดนัด การที่หยิบยกอ้างความผิด
การชำระหนี้อันเป็นพ้นวิสัยแก่ฝ่ายลูกหนี้ร่วมกันคนหนึ่ง กำหนดอายุความหรือการที่อายุความสะดุดหยุดลง
และการที่สิทธิเรียกร้องเกลื่อนกลืนกันไปกับหนี้สิน
มาตรา ๖๙๒ อายุความสะดุดหยุดลงเป็นโทษแก่ลูกหนี้นั้น
ย่อมเป็นโทษแก่ผู้ค้ำประกันด้วย
0 Comments
แสดงความคิดเห็น