คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๗๙๔/๒๕๖๑
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยดูหมิ่นซึ่งหน้าด้วยการพิมพ์ข้อความ “สรุป...ทริป “พาไปขำ” ..นะคะ...”..ลงในโปรแกรมไลน์ อันเป็นการใส่ความโจทก์ซึ่งหน้า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องอับอาย ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถูกเหยียดหยาม การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความโจทก์ต่อสมาชิกในกลุ่มซึ่งเป็นบุคคลที่สามที่เห็นข้อความของจำเลยก็ย่อมจะเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนนิสัยไม่ดี เป็นคนชั่ว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา ๓๒๖, ๓๒๘, ๓๙๑ (ที่ถูก ๓๙๓) ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อันเป็นการกระทำโดยการโฆษณา ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๒๘ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด คำฟ้องของโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๒๘ เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ ด้วย ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๕)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยดูหมิ่นซึ่งหน้าด้วยการพิมพ์ข้อความ “สรุป...ทริป “พาไปขำ” ..นะคะ...”..ลงในโปรแกรมไลน์ อันเป็นการใส่ความโจทก์ซึ่งหน้า ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ต้องอับอาย ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง ถูกเหยียดหยาม การกระทำของจำเลยเป็นการใส่ความโจทก์ต่อสมาชิกในกลุ่มซึ่งเป็นบุคคลที่สามที่เห็นข้อความของจำเลยก็ย่อมจะเข้าใจว่าโจทก์เป็นคนนิสัยไม่ดี เป็นคนชั่ว ขอให้ลงโทษตาม ป.อ. มาตรา ๓๒๖, ๓๒๘, ๓๙๑ (ที่ถูก ๓๙๓) ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายว่าจำเลยหมิ่นประมาทโจทก์อันเป็นการกระทำโดยการโฆษณา ซึ่งเป็นองค์ประกอบความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๒๘ จึงเป็นฟ้องที่ไม่ครบองค์ประกอบความผิด คำฟ้องของโจทก์ในความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๓๒๘ เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบ ด้วย ป.วิ.อ. มาตรา ๑๕๘ (๕)
โจทก์เบิกความในชั้นไต่สวนมูลฟ้อง
โดยมิได้ยืนยันว่าข้อความตามคำฟ้องมีข้อความใดบ้างที่เป็นเท็จ
และที่ถูกต้องตามความจริงแล้วเป็นเช่นไร เมื่อพิจารณาข้อความตามคำฟ้องแล้วมีลักษณะเชิงเปรียบเทียบ และข้อความบางตอนกล่าวในทำนองเสียดสี ยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์
หรือเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยจึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทและฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
ตาม ป.อ. มาตรา ๓๒๖, ๓๙๓
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ (๑) เดิม แต่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ได้มี
พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๔ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔ แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน “มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ (๑) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน
หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน
อันมิใช่การกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวล
กฎหมายอาญา” ซึ่งมาตรา ๑๔ (๑) ที่แก้ไขใหม่
ใช้กับกรณีกระทำการโดยทุจริตหรือโดยหลอกลวง
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต
หรือทางออนไลน์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมหรือเป็นเท็จ
ที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน แต่ไม่ใช้กับกรณีนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเป็นการใส่ความผู้อื่นโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
ซึ่งมีบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายอาญาระบุไว้ว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทแล้ว
การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่มีมูลเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ (๑) ที่แก้ไขใหม่
อีกต่อไป ตาม ป.อ.มาตรา ๒ วรรคสอง
ตามฎีกานี้
ประเด็นแรก คดีโจทก์มีมูลในความผิดฐานหมิ่นประมาทและฐานดูหมิ่นซึ่งหน้า
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๒๖, ๓๙๓ หรือไม่
ประเด็นที่สอง คดีโจทก์มีมูลในความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๑๔ (๑) หรือไม่
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๒ วรรคสอง ถ้าตามบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง
การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไป ให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด
และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้ว ก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น
ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง
มาตรา ๓๒๖
ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำ ให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง
ผู้นั้นกระทำ ความผิดฐานหมิ่นประมาท
ต้องระวางโทษจำ คุกไม่เกินหนึ่งปี
หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
มาตรา ๓๒๘ ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำ โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพ
ระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำ ให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด
ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำ โดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ
หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำ ต้องระวางโทษจำ คุกไม่เกินสองปี
และปรับไม่เกินสองแสนบาท
มาตรา ๓๙๓ ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา
ต้องระวางโทษจำ คุกไม่เกินหนึ่งเดือน
หรือ ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ ทั้งปรับ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น