ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์วันที่ ๑ ธันวาคม
๒๕๕๙ ครบกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาภายใน
๑ เดือน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๔๗ (เดิม) ในวันที่ ๑ มกราคม
๒๕๖๐ ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์และเป็นวันขึ้นปีใหม่อันเป็นวันหยุดราชการ วันที่ ๒ และ
๓ มกราคม ๒๕๖๐
ตรงกับวันจันทร์และวันอังคารเป็นวันหยุดราชการชดเชยวันสิ้นปีและวันขึ้นปีใหม่ จำเลยมีสิทธิยื่นฎีกาในวันที่ ๔ มกราคม
๒๕๖๐ ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ได้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๙๓/๘ จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๖๐ จึงเป็นการยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้ว
ศาลชั้นต้นจะมีคำ สั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาแก่จำ เลยเมื่อพ้นกำ หนดระยะเวลายื่นฎีกาแล้วได้ จำ เลยจะต้องอ้างถึงเหตุสุดวิสัยที่ทำ ให้จำ เลยไม่สามารถยื่นคำ ร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาก่อนสิ้นระยะเวลายื่นฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๓ แต่ตามคำ ร้องจำ เลยอ้างว่าจำ เลยเพิ่งได้รับสำเนาคำ พิพากษาหรือคำ สั่งของศาลอุทธรณ์ที่ขอคัดถ่ายไว้
ทำ ให้ไม่อาจทำฎีกายื่นได้ทันภายในกำ หนด เป็นการอ้างถึงพฤติการณ์พิเศษที่ทำให้ไม่สามารถยื่นฎีกาได้ภายในกำ หนดเพื่อขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาออกไปเท่านั้น
มิใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำ ให้จำ เลยไม่สามารถยื่นคำ ร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาได้ก่อนสิ้นเวลาที่กฎหมายกำ หนดเพื่อขอขยายระยะเวลาเมื่อพ้นกำ หนดเวลาแล้วไม่
ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำ หนดเวลาแล้วให้แก่จำ เลยตามคำ ร้องได้
ตามฎีกานี้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า
จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนด
ทั้งไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำร้องได้ทันภายในกำหนดแต่อย่างใด
จึงให้ยกคำร้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๙๓/๘
ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำ การตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี
ให้นับวันที่เริ่มทำ การใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำ การนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๓
เมื่อศาลเห็นสมควรหรือมีคู่ความฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ยื่นคำ ขอโดยทำ เป็นคำ ร้อง ให้ศาลมีอำ นาจที่จะออกคำ สั่งขยายหรือย่นระยะเวลาตามที่กำ หนดไว้ในประมวลกฎหมายนี้หรือตามที่ศาลได้กำ หนดไว้
หรือระยะเวลาที่เกี่ยวด้วยวิธีพิจารณาความแพ่งอันกำ หนดไว้ในกฎหมายอื่น เพื่อให้ดำ เนินหรือมิให้ดำ เนินกระบวนวิธีพิจารณาใด
ๆ ก่อนสิ้นระยะเวลานั้นแต่การขยายหรือย่นเวลาเช่นว่านี้ให้พึงทำ ได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษ
และศาลได้มีคำสั่งหรือคู่ความมีคำ ขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น
เว้นแต่ในกรณีที่มีเหตุสุดวิสัย
0 Comments
แสดงความคิดเห็น