คำพิพากษาศาลฎีกาที่
๖๓๘๙/๒๕๖๑
จำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นสวนจำกัด ด. และเป็นหุ้นส่วน จำพวกไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้างหุ้นส่วน
โดยไม่จำกัดจำนวน ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๑๐๗๐ และมาตรา ๑๐๗๗ (๒)
ถึงแม้ว่านายทะเบียนจะขีดชื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ด. ออกเสียจากทะเบียน
เป็นเหตุให้ห้างหุ้นส่วนสิ้นสภาพนิติบุคคลแล้ว แต่ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการมีอยู่เท่าไรก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้นและพึงเรียกบังคับได้
เสมือนห้างหุ้นส่วนนั้นยังมิได้สิ้นสภาพนิติบุคคล ตามมาตรา ๑๒๗๓/๓ กับทั้งจำเลยย่อมอยู่ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วม ดังนั้น เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัด ด. ผิดนัดไม่ชำระหนี้เงินตามฟ้องแก่โจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองย่อมมีสิทธิเรียกชำระหนี้จากห้างหุ้นส่วนจำกัด ด. หรือจำเลยคนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงก็ได้ตามแต่จะเลือก
ตามมาตรา ๒๙๑ เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสองได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหมายเลขแดงที่
๒๓๖๓ - ๒๓๖๔/๒๕๔๖ ของศาลชั้นต้นยังไม่ครบถ้วน โจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ด. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดได้
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๓๕๒๖/๒๕๕๘ ผู้รับประกันภัยเป็นลูกหนี้ร่วมกับผู้เอาประกันภัย
ฎีกาที่ ๒๐๕๕๐/๒๕๕๖
จำเลยและ ว. ร่วมกันทำละเมิดให้ผู้เสียหายได้รับบาดเจ็บ จึงเป็นลูกหนี้ร่วมกัน
ฎีกาที่ ๗๖๓๑/๒๕๕๒ สามีจำเลยกู้เงินโจทก์ จำเลยลงลายมือชื่อเป็นพยานในสัญญากู้
ถือว่าจำเลยได้ให้สัตยาบันในการทำสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว หนี้กู้ยืมเงินจึงเป็นหนี้ร่วมของสามี จำเลยและจำเลย ตาม ป.พ.พ.
มาตรา ๑๔๙๐ (๔) โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ย่อมมีอำนาจฟ้องลูกหนี้ทุกคนพร้อมกันให้ชำระหนี้เป็นส่วนๆ หรือจะฟ้องลูกหนี้ที่ละคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนก็ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา ๒๙๑ โจทก์ไม่ได้ฟ้องจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยในคดีก่อนให้ร่วมกับสามีชำระหนี้เงินกู้แก่โจทก์ด้วย
จำเลยคดีนี้จึงถือไม่ได้ว่าเป็นคู่
ความเดียวกันกับจำเลยในคดีก่อน ฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ฎีกาที่ ๓๕๐๖/๒๕๕๑ แม้จะได้ความว่าเหตุเกิดจากความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ร่วมกันและไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
แต่จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ ได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รถยนต์ของโจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องถือว่าจำเลยที่
๑ และที่ ๒ ล้วนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายดังกล่าวทั้งหมด จำเลยที่ ๑ และที่ ๒ จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอย่างลูกหนี้ร่วม
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๒๙๑ ถ้าบุคคลหลายคนจะต้องทำการชำระหนี้โดยทำนองซึ่งแต่ละคนจำต้องชำระหนี้สิ้นเชิงไซร้ แม้ถึงว่าเจ้าหนี้ชอบที่จะได้รับชำระหนี้สิ้นเชิงได้แต่เพียงครั้งเดียว (กล่าวคือลูกหนี้ร่วมกัน) ก็ดี
เจ้าหนี้จะเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่งสิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก
แต่ลูกหนี้ทั้งปวงก็ยังคงต้องผูกพันอยู่ทั่วทุกคนจนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นเชิง
มาตรา ๑๒๗๓/๓ เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามที่แจ้งในหนังสือบอกกล่าวตามมาตรา
๑๒๗๓/๑ หรือมาตรา ๑๒๗๓/๒ แล้ว และห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือผู้ชำระบัญชีมิได้แสดงเหตุให้เห็นเป็นอย่างอื่น
นายทะเบียนจะขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นออกเสียจากทะเบียนก็ได้
ในการนี้ให้ห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น
สิ้นสภาพนิติบุคคลตั้งแต่เมื่อนายทะเบียนขีดชื่อห้างหุ้นส่วนหรือ
บริษัทออกเสียจากทะเบียน แต่ความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการ ผู้เป็นหุ้นส่วน
กรรมการ ผู้จัดการ
และผู้ถือหุ้นมีอยู่เท่าไรก็ให้คงมีอยู่อย่างนั้นและพึงเรียกบังคับได้เสมือนห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น
ยังมิได้สิ้นสภาพนิติบุคคล
0 Comments
แสดงความคิดเห็น