คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๕๓/๒๕๖๑
ผู้ตายซึ่งมีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิดอยู่ด้วย
ไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒ (๔)
แต่ความผิดฐานร่วมกันฆ่าผู้อื่นที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน แม้ผู้ตายไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนได้โดยไม่จำเป็นต้องมีคำร้องทุกข์ อัยการโจทก์มีอำนาจฟ้อง
ผู้ตายมิใช่เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัย
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นมารดาของผู้ตายไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทนผู้ตายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๕ (๒) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๐ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ บ. มารดาผู้ตายเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมจึงเป็นการไม่ชอบ
ศาลฎีกามีอำนาจยกคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของ บ. ได้
เพิ่มเติม
ผู้มีอำนาจจัดการแทนผู้เสียหาย
ฎีกาที่
๑๐๙๑๕/๒๕๕๘ ส. เป็นผู้เสียหายที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทำความผิดของคนร้ายโดยตรง
ส. จึงมีอำนาจฟ้องคดีอาญาหรือยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับ
พนักงานอัยการได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๒๘ และมาตรา ๓๐ และหาก ส. ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้
ผู้สืบสันดานและภริยาของ ส. ย่อมมีอำนาจจัดการแทน ส. ได้ แต่กฎหมายได้กำหนดหลักเกณฑ์ประการสำคัญไว้ใน
มาตรา ๕(๒) แห่ง ป.วิ.อ. ว่า ผู้สืบสันดานและภริยาจะจัดการแทนผู้เสียหายได้เฉพาะแต่ในความผิดอาญาซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
ศาลแพ่งกรุงเทพใต้มีค่าสั่งแสดงว่า
ส. เป็นคนสาบสูญซึ่งถือว่าถึงแก่ความตายตาม ป.พ.พ. มาตรา ๖๒ ก็ตาม
แต่ก็เป็นการตายโดยผลของกฎหมาย มิใช่เป็นกรณีถูกทำร้ายถึงตายตามความเป็นจริง
เมื่อในขณะที่ภริยาและผู้สืบสันดานของ ส. ยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในปี ๒๕๔๗
และปี ๒๕๔๘ ตามลำดับ ข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ส. ถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
ประกอบกับโจทก์แถลงยอมรับต่อศาลชั้นต้นตามรายงานกระบวนพิจารณาว่า อ. ภริยาของ ส.
ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้ ดังนี้ ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของ
อ. โจทก์ร่วมที่ ๑ และ บุตรของ ส. โจทก์ร่วมที่ ๒ ถึงที่ ๕ จึงเป็นไปโดยถูกต้องและชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามที่บัญญัติไว้ใน
ป.วิ.อ. มาตรา ๕(๒) แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๒ ในประมวลกฎหมายนี้
(๔)
“ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำ ผิดฐานใดฐานหนึ่ง
รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำ นาจจัดการแทนได้
ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๔, ๕ และ ๖
มาตรา
๕ บุคคลเหล่านี้จัดการแทนผู้เสียหายได้
(๑)
ผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้อนุบาล เฉพาะแต่ในความผิดซึ่งได้กระทำต่อผู้เยาว์
หรือผู้ไร้ความสามารถซึ่งอยู่ในความดูแล
(๒)
ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน สามีหรือภริยาเฉพาะแต่ในความผิดอาญา ซึ่งผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจะจัดการเองได้
(๓)
ผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆ ของนิติบุคคล เฉพาะความผิดซึ่งกระทำลงแก่นิติบุคคลนั้น
มาตรา
๓๐ คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้
มาตรา
๑๒๐ ห้ามมิให้พนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีใดต่อศาล
โดยมิได้มีการสอบสวนในความผิดนั้นก่อน
0 Comments
แสดงความคิดเห็น