คำพิพากษาศาลฎีกาที่
๗๑๒๔/๒๕๖๑
การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ.
มาตรา ๒๗๑ (เดิม) เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดี
ให้ครบถ้วนภายใน ๑๐ ปี นับแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษา ขั้นแรกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี
ขั้นต่อไปต้องแจ้งให้ เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีและขั้นตอนสุดท้ายเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาไว้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๔๖ ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์
โจทก์จึงต้องร้องขอให้ บังคับคดีภายในวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖
ปรากฏว่าโจทก์ได้ขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีเมื่อวันที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๔๗ และได้ดำเนินการยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดเมื่อวันที่
๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ แล้ว แต่ได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์
ครั้นเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ ซึ่งเป็นวันที่โจทก์มีสิทธิร้องขอให้บังคับคดีได้เป็นวันสุดท้าย
โจทก์ยื่นคำขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินโฉนดเลขที่ ๖๐๘๓ และ ๖๐๘๔
ซึ่งมีชื่อจำเลยที่ ๒ ถือกรรมสิทธิ์รวมแล้ว เพียงแต่มีเหตุขัดข้องเนื่องจากภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้างที่โจทก์นำส่งไม่ชัดเจนและปรากฎว่าผู้ถือกรรมสิทธิ์รามบางคนถึงแก่ความตาย
เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อขัดข้องเช่นว่านั้นเสียก่อน
เช่นนี้ย่อมถือว่าโจทก์ได้ดำเนินการตามขั้นตอนของการบังคับคดีครบถ้วนภายในระยะเวลาบังคับคดีตามมาตรา
๒๗๑ (เดิม) แล้ว เพียงแต่มีเหตุขัดข้อง ทำให้การดำเนินการบังคับคดีไม่แล้วเสร็จ
เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจดำเนินการบังคับคดีต่อไปจนเสร็จสิ้นได้
ส่วนที่โจทก์ยื่นคำขอให้ยึดที่ดินดังกล่าวอีกครั้งในวันที่ ๑๐ เมษายน ๒๕๕๘ พร้อมนำส่งภาพถ่ายสิ่งปลูกสร้างและเอกสารเพิ่มเติมก็เป็นการแสดงความประสงค์ที่จะให้มีการบังคับคดียึดที่ดินที่โจทก์ขอให้ยึดไว้แล้วตามคำขอยึดทรัพย์วันที่
๒๔ เมษายน ๒๕๕๖ ต่อไปนั่นเอง หาใช่เป็นกรณียื่นคำขอให้ยึดทรัพย์
เมื่อล่วงเลยระยะเวลาบังคับคดีไม่
เพิ่มเติม
กำหนดระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งตามมาตรา
๒๗๔ วรรคหนึ่ง หมายความถึง วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชั้นที่สุดในคดีนั้น
ไม่ใช่วันที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ
มาตรา ๑๔๗ วรรคสอง (เทียบฎีกาที่ ๑๐๗๓๑/๒๕๕๘ (ประชุมใหญ่), ๔๖๗๓ กลับฎีกาที่ ๔๓๘/๒๕๓๔, ๕๓๕๙/๒๕๓๔,
๑๖๕๙/๒๕๔๔, ๕๘๗๗/๒๕๕๑, ๒๓๒๕/๒๕๕๒
๓๑๙๓/๒๕๕๓, ๓๗๑๔-๓๗๑๗/๒๕๕๔, ๕๐๑๖/๒๕๕๕,
๘๕๖๘/๒๕๕๗)
ขั้นตอนต่างๆ ของการบังคับคดี
๑.เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี
๒.ต้องให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว
๓.ต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา ๒๗๔
ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำ พิพากษาหรือคำ สั่งให้ชำ ระหนี้
(ลูกหนี้ตามคำ พิพากษา)
มิได้ปฏิบัติตามคำ บังคับที่ออกตามคำ พิพากษาหรือคำ สั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำ พิพากษาหรือคำ สั่งให้ได้รับชำ ระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคำ พิพากษา)
ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง
หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำ พิพากษาหรือคำ สั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้หรือได้ดำ เนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายใน
ระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดำ เนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง
หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้
ถ้าคำ พิพากษาหรือคำ สั่งกำ หนดให้ชำ ระหนี้เป็นงวด เป็นรายเดือน หรือเป็นรายปี หรือ กำ หนดให้ชำ ระหนี้อย่างใดในอนาคต
ให้นับระยะเวลาสิบปีตามวรรคหนึ่งตั้งแต่วันที่หนี้ตามคำ พิพากษาหรือคำ สั่งนั้นอาจบังคับให้ชำ ระได้
ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคำ พิพากษาหรือคำ สั่งเป็นการให้ชำ ระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์ เฉพาะสิ่ง
บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคำ พิพากษาหรือคำ สั่งนั้นมีอำ นาจบังคับคดีตามความในหมวด ๒
การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงินหรือหมวด ๓ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืน
หรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้วแต่กรณี
โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำ พิพากษาต่อไป
อ้างอิง
สมชัย
ฑีฆาอุตมากร. ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรุงสยามพับลิชชิ่ง,
๒๕๖๑.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น