คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๗๒๕๖/๒๕๖๑
ถ้อยคำที่จำเลยกล่าวว่า
ถ้าไม่มีหนังสือนำ มหาวิทยาลัยจะไม่ให้ตรวจสอบ และโจทก์ร่วมกับผู้เสียหายที่ ๒
มาตรวจสอบโดยไม่ถูกต้องแล้วยังมาเดินกร่างไปกร่างมาในมหาวิทยาลัยเป็นเพียงคำกล่าวที่ก้าวร้าว
ไม่เหมาะสมซึ่งไม่สมควรพูด ยังไม่ถึงขนาดจะดูหมิ่นเหยียดหยาม แต่ถ้อยคำของจำเลยที่ว่า
มาตรวจสอบโดยมีอคติ นั้น เป็นการกล่าวหาโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ ๒ ว่าปฏิบัติหน้าที่ตรวจสอบเรื่องการทุจริตโครงการดังกล่าวด้วยความลำเอียง
โดยปราศจากเหตุผลอันสมควรในการกล่าวถ้อยคำเช่นนั้น แสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยที่ต้องการลดคุณค่า
ของโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่ ๒ อันเป็นการดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทโจทก์ร่วมและผู้เสียหายที่
๒ ไม่ใช่เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพ และไม่สมควร การกล่าวถ้อยคำดังกล่าวของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๑๐๖๗๔/๒๕๕๓ จำเลยที่ ๑ พูดต่อผู้เสียหายที่ ๒ กับพวกซึ่งเป็นเจ้าพนักงานสรรพสามิตผู้มีอำนาจหน้าที่จับกุมผู้กระทำความผิดต่อกฎหมายเกี่ยวกับสรรพสามิตว่า “พวกมึงเป็น ข้าราชการรังแกประชาชน
แกล้งจับกู” ถ้อยคำดังกล่าวมิใช่เป็นเพียงค่ากล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควร
แต่เป็นถ้อยคำดูถูกสบประมาทผู้เสียหายที่ ๒ กับพวก จำเลยที่ ๒ จึงมีความผิดฐานดูหมิ่นเจ้าพนักงานตาม
ป.อ. มาตรา ๑๓๖
ฎีกาที่
๔๓๒๗/๒๕๔๐ การกระทำอันเป็นองค์ประกอบสำคัญประการหนึ่งของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๓๖ คือ “ดูหมิ่น” ซึ่งหมายถึงการด่า ดูถูกเหยียดหยามหรือสบ
ประมาทให้อับอายถ้อยคำที่จำเลยกล่าวต่อ ข. เจ้าพนักงานซึ่งกระทำตามหน้าที่ว่า “แน่จริงถึงถอดเสื้อมาต่อยกับกูเลย” เป็นการกล่าวท้าทายให้
ข. ออกมาต่อสู้กับจำเลย เป็นเพียงคำกล่าวที่ไม่สุภาพและไม่สมควรเท่านั้น
ยังไม่ถึงขั้นที่พอจะให้เข้าใจว่าจาเลยมีความมุ่งหมายที่จะด่า
ดูถูกเหยียดหยามหรือสบประมาทให้ ข. อับอายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๓๖
ฎีกาที่ ๕๐๑/๒๕๓๗ เมื่อผู้เสียหายซึ่งเป็นเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลย
จำเลยกล่าวกับผู้เสียหายว่า เป็นนายจับอย่างไรก็ได้และเรียกท่าเย็ดแม่ดังนี้ที่จำเลยกล่าวว่าเป็นนายจับอย่างไร
ก็ได้ เป็นเพียงคำกล่าวในทำนองตัดพ้อต่อว่า ไม่ได้กล่าวหาว่า
ผู้เสียหายกลั่นแกล้งจึงไม่เป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย
ฎีกาที่
๓๘๒๘/๒๕๓๑ โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๓๖, ๑๓๗, ๓๒๖, และ
๓๒๘ อันเป็นคดีที่มีโทษจำคุกไม่เกิน ๓ ปี แม้โจทก์จะยื่นฟ้องต่อศาลจังหวัด ก็ต้องนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับตามความในมาตรา
๓ แห่งพระ ราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด
พ.ศ.๒๕๒๐ จึงต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๓๖
ผู้ใดดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่ หรือเพราะได้กระทำการตามหน้าที่
ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น