1. ป.วิ.พ. มาตรา 132
               คำว่า "ให้ศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดีเสียจากสารบบความได้"
               ศาลมีอำนาจที่จะใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีได้
               ฎีกาที่ 6072/2560 มาตรา 132 ไม่ใช่บทบังคับ เด็ดขาดว่าศาลต้องจำหน่ายคดีเสมอไปเพียงแต่ ให้ศาลใช้ดลพินิจว่าจะสั่งจำหน่ายหรือไม่ก็ได้ โดยคำนึงถึงเหตุผลอันสมควรและยุติธรรม

2.ประเภทคำฟ้อง
               1. การฟ้องที่เสนอในขณะที่เริ่มต้นคดี
                              1.1 คำฟ้องในคดีมีข้อพิพาท
                              1.2 คำร้องขอในคดีไม่มีข้อพิพาท
               2. คำฟ้องที่เสนอในภายหลังหรือเสนอระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น
                              2.1 คำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำฟ้องตามมาตรา 179 และมาตรา 180
                              2.2 ฟ้องแย้ง
                              2.3 คำร้องสอด
               3. คำฟ้องที่เสนอต่อศาลชั้นต้นภายหลังศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี
                              3.1 คำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายหลังเมื่อศาลพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดพิจารณาแพ้คดี ตามมาตรา 207
                              3.2 คำฟ้องอุทธรณ์และคำฟ้องฎีกา
                              3.3 คำร้องขัดทรัพย์ ตามมาตรา 323
                              3.4 การร้องขอรับชำระหนี้ก่อนตามมาตรา 324
                              3.5 คำร้องสอดในชั้นบังคับคดี

3.คดีไม่มีข้อพิพาท
               "คำร้องขอ" บุคคลใดจะต้องใช้สิทธิทางศาลจะต้องมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอในกรณีนั้น ๆ ได้(ฎีกาที่ 1805/2494, 4764/2557) เช่น
               1. การร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713(ฎีกาที่ 4764/2557)
               2. การร้องขอต่อศาลให้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ ตาม กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 28 และมาตรา 32
               3. การร้องขอให้ศาลสั่งว่าได้ครอบครองที่ดินจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

อ้างอิง คำบรรยายเนติ ภาคสอง ปีการศึกษา 2562