คำพิพากษาฎีกาที่ ๒๙๗๙/๒๕๖๒
ตามฟ้องโจทก์อ้างว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ถูกลักไปเป็นของ
ร. ผู้เสียหายในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น ส. ยื่นคำร้องอ้างว่า
ตนเป็นผู้เสียหายเพราะเป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกลักไป ขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
โดยโจทก์และจำเลยทั้งสองแถลงต่อศาลชั้นต้นว่า ส. เป็นเจ้าของทรัพย์ที่ถูกลักไป
และไม่คัดค้านที่ ส.จะขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ แม้คำแถลงของโจทก์และจำเลยทั้งสองจะเป็นประโยชน์แก่
ส.แต่คำแถลงของโจทก์เกี่ยวกับตัวผู้เสียหายแตกต่างไปจากฟ้อง โดยโจทก์ไม่ได้อ้างว่ามีเหตุผลอย่างไรที่แถลงแตกต่างไปเช่นนั้น
ดังนี้ กรณียังไม่อาจรับฟังว่า ส. เป็นผู้เสียหายไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๓๐
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๑๙๓๐๐/๒๕๕๖ การที่โจทก์ร่วมทั้งสี่ซึ่งอ้างว่าเป็นผู้เสียหายยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา ๓๐ เป็นการยื่นคำร้องโดยอาศัยสิทธิตามคำฟ้องของพนักงานอัยการ
เมื่อคำฟ้องของพนักงานอัยการบรรยายว่าผู้ตายขับรถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทด้วย
โจทก์ร่วมทั้งสี่จึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำฟ้องโดยไม่จำต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบว่าผู้ตายมีส่วนประมาทด้วยหรือไม่
เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏข้อเท็จจริงว่า ผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย
ผู้ตายจึงมีส่วนร่วมในการกระทำความผิด เช่นนี้ ผู้ตายจึงไม่ใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัย
โจทก์ร่วมทั้งสี่ย่อมไม่มีอำนาจจัดการแทนผู้ตายและยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ตาม
ป.วิ.อ. มาตรา ๕ (๒) และ ๓๐
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๓๐
คดีอาญาใดซึ่งพนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายจะยื่นคำร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ในระยะใดระหว่างพิจารณาก่อนศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนั้นก็ได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น