คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๖๖๖/๒๕๖๒ (ประชุมใหญ่)
จำเลยเป็นฝ่ายไปเรียกเงินจากโจทก์เพื่อเป็นการตอบแทนในการไปวิ่งเต้นให้สามีโจทก์ได้รับพระราชทานอภัยโทษโดยโจทก์ไม่มีเจตนาตั้งแต่แรกที่จะวิ่งเต้นและจำเลยก็ไม่มีเจตนาที่จะไปวิ่งเต้นให้หรือรู้อยู่แล้วว่าไม่สามารถวิ่งเต้นได้อันเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือ
หลอกลวงโจทก์ ถือว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษย่อมเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องในความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๑๔๓ ทั้งโจทก์ไม่มีเจตนาจะให้จำเลยวิ่งเต้นแต่กระทำไปเพราะถูกจำเลยหลอกลวงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีส่วนร่วมในการกระทำความผิด
โจทก์เป็นผู้เสียหายโดยนิตินัยมีสิทธินำคดีมาฟ้องได้
จำเลยเรียกเงินจากโจทก์เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานโดยวิธีการอันทุจริตหรือผิดกฎหมายให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่โจทก์
การกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๔๓ แม้จำเลยไม่มีเจตนาที่จะจูงใจเจ้าพนักงาน
อันเป็นการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือหลอกลวงโจทก์ก็ตาม
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๖๖๑/๒๕๕๔ จำเลยเรียกและรับเงินจากผู้เสียหายทั้งสองเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ
โดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย เพื่อให้กระทำการในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องคดีแก่บุคคลที่ถูกดำเนินคดีอาญา
แม้พนักงานอัยการจะมิได้เป็นเจ้าของสำนวนในคดีนั้นและจำเลยยังมิได้ให้เงินก็ตาม
ก็ถือว่าพนักงานอัยการนั้นเป็นเจ้าพนักงานที่จำเลยจะจูงใจให้กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณแก่บุคคลที่จำเลยจะให้ช่วยเหลือแล้ว
การกระทำของจำเลยครบองค์ประกอบแห่งความผิดตาม ป.อ. มาตรา ๑๔๓ แล้ว
และเป็นความผิดต่อรัฐโดยตรง
โจทก์ร่วมทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา
๒ ในประมวลกฎหมายนี้
(๔)
“ผู้เสียหาย” หมายความถึงบุคคลผู้ได้รับความเสียหายเนื่องจากการกระทำ ผิดฐานใดฐานหนึ่ง
รวมทั้งบุคคลอื่นที่มีอำ นาจจัดการแทนได้
ดังบัญญัติไว้ในมาตรา ๔, ๕ และ ๖
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา
๑๔๓ ผู้ใดเรียก รับหรือยอมจะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำหรับตนเองหรือผู้อื่น
เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ
สมาชิกสภาจังหวัดหรือสมาชิกสภาเทศบาลโดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมายหรือโดยอิทธิพลของตนให้กระทำการ
หรือไม่กระทำการในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี
หรือปรับไม่เกินหนึ่ง แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
0 Comments
แสดงความคิดเห็น