การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๖๙ การแสดงเจตนาที่กระทำ ต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา
แต่ถ้าได้บอกถอนไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้น ก่อนหรือพร้อมกันกับที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา
การแสดงเจตนานั้นตกเป็นอันไร้ผล
การแสดงเจตนาที่ได้ส่งออกไปแล้วย่อมไม่เสื่อมเสียไป
แม้ภายหลังการแสดงเจตนานั้นผู้แสดงเจตนาจะถึงแก่ความตาย
หรือถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
การแสดงเจตนาที่กระทำต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้า
หมายถึง บุคคลที่ไม่สามารถติดต่อสื่อสารหรือรับรู้กันได้โดยทันที
ต้องใช้การติดต่อสื่อสารกันด้วยจดหมาย โทรเลข โทรสาร
ที่ผู้รับมิได้รอรับอยู่ที่ปลายทาง
“ไปถึง” ผู้รับ โดยผู้รับจะได้ “รู้”
ถึงข้อความในจดหมายนั้นหรือไม่ก็ได้
ตามมาตรา ๖๘๖ การบอกกล่าวผู้ค้ำประกันเมื่อลูกหนี้ผิดนัด
กฎหมายก็กำหนดเอาการ “ไปถึง” ผู้ค้ำประกันเป็นสำคัญด้วย
ฎีกาที่ ๑๐๘๐๘/๒๕๕๙ การบอกกล่าวบังคับจำ นองเป็นการแสดงเจตนาอย่างหนึ่งตามประมวล
กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง ที่บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาที่กระทำ ต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนา...”
ถ้อยคำว่า “ไปถึง” นั้น หมายความว่า ผู้รับการแสดงได้มีการแสดงเจตนาโดยมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำ นองไปยังลูกหนี้ ณ ภูมิลำ เนาหรือสำ นักทำ การงานของลูกหนี้
แม้ขณะจดหมายบอกกล่าวไปถึงภูมิลำเนาหรือสำ นักทำ การงานของลูกหนี้จะไม่พบลูกหนี้หรือไม่มีผู้ใดรับไว้
ก็ถือได้ว่าผู้รับจำ นองมีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำ นองไปถึงลูกหนี้โดยชอบแล้ว
เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า โจทก์ส่งจดหมายบอกกล่าวบังคับจำ นองถึงจำ เลยโดยทางไปรษณีย์ตอบรับตามภูมิลำ เนาที่จำ เลยระบุในสัญญาจำ นอง
และตามแบบรับรองรายการทะเบียนราษฎรเอกสารแนบท้ายคำ แถลงขอปิดหมายเรียกและสำ เนาคำฟ้อง กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำ นองไปถึงจำ เลยและมีผลเป็นการบอกกล่าวบังคับจำ นองโดยชอบแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา
๗๒๘ และมาตรา ๑๖๙ วรรคหนึ่ง หมายเหตุ ตามฎีกานี้ จำเลยฎีกาว่าปรากฏว่าส่งไม่ได้เพราะไม่มารับภายในกำหนด
โดยที่พนักงานไปรษณีย์ไม่ได้มีหนังสือแจ้งจำเลยให้ไปรับหนังสือของโจทก์ดังกล่าวที่ที่ทำการไปรษณีย์
ฎีกาที่ ๕๙๐๑/๒๕๕๐ การแสดงเจตนาต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้านั้น
ป.พ.พ. มาตรา ๑๖๙ บัญญัติว่า “การแสดงเจตนาที่กระทำ ต่อบุคคลซึ่งมิได้อยู่เฉพาะหน้าให้ถือว่ามีผลนับแต่เวลาที่การแสดงเจตนานั้นไปถึงผู้รับการแสดงเจตนา...”
ถ้อยคำ ที่ว่าไปถึงผู้รับการแสดงเจตนานั้นมิได้หมายความว่า
ผู้นำ จดหมายไปส่งจะต้องได้พบผู้รับการแสดงเจตนาโดยตรง
แต่หมายความว่า ผู้นำ จดหมายไปส่งต้องไปส่ง
ณ ภูมิลำเนา หรือสำ นักทำ การงานของผู้รับการแสดงเจตนา
แม้ขณะไปถึงภูมิล่าเนาหรือสำ นักทำ การงานของผู้รับการแสดงเจตนาจะไม่พบผู้รับการแสดงเจตนาโดยตรง
ก็ถือว่า เป็นการส่งยังสถานที่ที่ถูกต้องแล้ว ดังนี้ การที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำ หนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าไปส่งให้จำ เลยที่ ๒ ที่ภูมิลำ เนาของจำ เลยที่ ๒ อันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการ แม้จะไม่พบจำเลยที่
๒ และไม่มีผู้ใดรับไว้ แต่ก็ถือได้ว่าหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ได้ไปถึงจำ เลยที่ ๒ และมีผลเป็นการบอกเลิกสัญญาเช่าตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว
การบอกเลิกสัญญาเช่าของโจทก์ไปยังจำ เลยที่
๒ จึงชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาที่ ๕๗๘๕/๒๕๓๙ โจทก์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงจำ เลยตามภูมิลำเนา
เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาให้จำ เลยไม่ได้ โดยรายงานเหตุขัดข้องว่า “ย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่”
เกิดจากการที่จำ เลยหลีกเลี่ยงไม่ยอมรับหมาย
ดังนี้ การที่เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์นำ หนังสือบอกเลิกสัญญาไปส่งให้จำ เลย ที่ภูมิลำ เนาของจำ เลยอันเป็นการส่งอย่างเป็นทางการ
แม้จะไม่พบจำ เลยและไม่มีผู้ใดรับไว้
แต่ก็ถือได้ว่า หนังสือบอกเลิกสัญญาของโจทก์ได้ไปถึงจำ เลย และมีผลเป็นการ บอกเลิกสัญญาตาม ป.พ.พ. มาตรา ๓๘๖ และมาตรา
๑๖๙ แล้ว การบอกเลิกสัญญาของโจทก์ไปยังจำ เลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
ฎีกาที่ ๘๒๒/๒๕๓๔ โจทก์ได้รับโอนห้องพิพาทมาจากมารดาโดยจำ" เลยเป็นผู้เช่าอยู่ในขณะโอน
โจทก์จึงได้รับโอนไปทั้งสิทธิและ หน้าที่ตามสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๕๖๙ วรรคสอง โจทก์มีเอกสารซึ่งเป็นหนังสือบอกเลิกการเช่ากับซองจดหมายบรรจุหนังสือมาแสดงว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกการเช่าไปยังจำ เลย ณ ห้องพิพาทนี้แล้ว มีหมายเหตุการนำ จ่ายไปรษณียภัณฑ์แจ้งเหตุขัดข้องการส่งของที่ทำ การไปรษณีย์ท้องที่ว่า “ผู้รับไม่ยอมรับ”
จึงถือว่าได้มีการบอกเลิกการเช่าไปถึงจำ เลยโดยชอบแล้ว...
ฎีกาที่
๕๘๗๓/๒๕๖๒ โจทก์มีหนังสือส่งไปยังจำเลยที่ ๑
ตามสถานที่ที่ระบุในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี แม้จำเลยที่ ๑ ไม่ได้รับ
แต่ซองจดหมายมีการระเหตุขัดข้องที่นำจ่ายผู้รับไม่ได้ว่าย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่
โดยมีลายมือชื่อ ของพนักงานที่เกี่ยวข้องในการนำจ่ายและลงวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์
๒๕๕๙ กำกับไว้ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ ๑
เคยแจ้งการเปลี่ยนแปลงสถานที่ที่ระบุไว้ในสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีมาก่อน
ถือได้ว่าโจทก์ส่งหนังสือให้แก่จำเลยที่ ๑ โดยชอบแล้ว
ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ที่กำหนดว่า “บรรดาหนังสือติดต่อ ทวงถาม
บอกกล่าวหรือหนังสืออื่น ใดที่จะส่งให้แก่ผู้กู้นั้น
ไม่ว่าจะส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนหรือไม่ลงทะเบียน หรือให้คนนำไปส่งเองก็ดี
ถ้าหากได้ส่งไปยังสถานที่ที่ระบุไว้ข้างต้นตามสัญญาฉบับนี้
ให้ถือว่าได้ส่งให้แก่ผู้กู้โดยชอบ ทั้งนี้โดยไม่คำนึงว่าจะมีผู้รับไว้หรือไม่ก็ตาม..”
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ ๑ เป็นอันเลิกกันในวันที่ ๑๑
มีนาคม ๒๕๕๙ และถือว่าจำเลยที่ ๑ ตกเป็นผู้ผิดนัดนับแต่วันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๕๙
เป็นต้นไป
อ้างอิง
ศนันท์กรณ์ โสตถิพันธุ์. คำอธิบายนิติกรรม-สัญญา.
พิมพ์ครั้งที่ 22. กรงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2561.
0 Comments
แสดงความคิดเห็น