คำพิพากษาฎีกาที่ ๑๔/๒๕๖๒
อาวุธมีดที่จำเลยที่ ๑ ใช้แทงโจทก์ร่วมเป็นอาวุธมีดปลายแหลม
และคมมีดยาว ๔ นิ้ว และจำเลยที่ ๑ เลือกแทงโจทก์ร่วมที่ท้องซึ่งมีอวัยวะสำคัญอยู่ภายในจนลำไส้ทะลักออกมาแสดงว่าแทงอย่างแรง จำเลยที่ ๑
ย่อมเล็งเห็นผลได้ว่าคมมีดอาจทะลุไปถึงอวัยวะสำคัญจนเป็นเหตุให้โจทก์ร่วมถึงแก่ความตายได้
แม้คมมีดจะไม่ถูกอวัยวะสำคัญภายใน ก็ต้องถือว่าจำเลยที่ ๑ มีเจตนาฆ่า เมื่อจำเลยที่ ๑ ลงมือกระทำความผิดไปตลอดแล้ว แต่การกระทำของจำเลยที่ ๑ ไม่บรรลุผลเพราะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทำการผ่าตัดและรักษาโจทก์ร่วมได้ทันท่วงที
โจทก์ร่วมไม่ถึงแก่ความตาย การกระทำของจำเลยที่
๑ เป็นความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น มิใช่เป็นเพียงความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่น
ก่อนเกิดเหตุโจทก์ร่วมบุกรุกเข้าไปในบ้านของนางสาว
จ. และพยายามเข้าไปห้องนอน เป็นการข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรมต่อนางสาว
จ. มิใช่เป็นการข่มเหงต่อจำเลยที่ ๑ แม้การกระทำของ๑ ซึ่งเป็นญาติของ จ. แต่เลยที่ ๑
ไม่ใช่บุคคลใกล้ชิดอันจะก่อให้ที่จะต้องคอยปกป้องดูแลมิให้ผู้อื่นมาโจทก์ร่วมจะสร้างความไม่พอใจแก่จำเลยที่
๑ ซึ่งเป็นญาติของ จ. ก็เป็นเพียงลูกพี่ลูกน้องของจำเลยที่ ๑ ไม่ใช่บุคคลใกล้ชิดอันจะก่อให้เกิดสิทธิและหน้าที่แก่จำเลยที่
๑ ที่จะต้องคอยปกป้องดูแลมิให้ผู้อื่นมาทำร้าย ดังนี้ ไม่อาจถือว่าจำเลยที่ ๑
ถูกโจทก์ร่วมข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม
เพิ่มเติม
ฎีกาที่
๑๑๘๑๗/๒๕๕๖ โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะ
ซึ่งความผิดดังกล่าวศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ กรณีจึงไม่มีอัตราโทษจำคุกอย่างต่ำ เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลสามารถพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่จำต้องสืบพยานหลักฐานต่อไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา ๑๗๖ วรรคหนึ่ง
ข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะตาม
ป.อ. มาตรา ๗๒, ๒๘๘
ฎีกาที่
๖๗๘๘/๒๕๕๔ เหตุบันดาลโทสะอาจเกิดเพราะคำบอกเล่าก็ได้
ไม่จำเป็นต้องประสบเหตุการณ์ด้วยตนเอง
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๕๙
บุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาก็ต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา เว้นแต่จะได้กระทำโดยประมาท
ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติให้ต้องรับผิดเมื่อได้กระทำโดยประมาท
หรือเว้นแต่ในกรณีที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยแจ้งชัดให้ต้องรับผิดแม้ได้กระทำโดยไม่มีเจตนา
กระทำโดยเจตนา
ได้แก่กระทำโดยรู้สำนึกในการที่กระทำและในขณะเดียวกันผู้กระทำประสงค์ต่อผล
หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบของความผิด
จะถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำนั้นมิได้
กระทำโดยประมาท
ได้แก่กระทำความผิดมิใช้โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจักต้องมีตามวิสัยและพฤติการณ์
และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่
การกระทำ
ให้หมายความรวมถึงการให้เกิดผลอันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย
มาตรา ๗๒
ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำ ความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น
ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำ หนดไว้สำ หรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น