คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๔๓๖/๒๕๖๒
ขณะเกิดเหตุละเมิด
จ. ผู้ตายเป็นบุตรนอกสมรสของผู้คัดค้าน ซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ค.
มารดาของผู้ตาย หลังจาก จ. ผู้ตายถึงแก่ความตายผู้คัดค้านได้จดทะเบียนสมรสกับมารดาของผู้ตาย
เป็นผลให้ จ. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้คัดค้านกับมารดาของผู้ตาย ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๕๕๗ บัญญัติให้การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายมีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด
แม้เหตุละเมิดเกิดขึ้น ขณะ จ. มีอายุ ๒๑ ปีเศษ และถึงแก่ความตายไปแล้วก็ตาม
แต่เมื่อผู้คัดค้านและ ค. บิดามารดาของ จ. จดทะเบียนสมรสกันภายหลังย่อมมีผลให้ จ.
เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนับตั้งแต่วันที่ จ. เกิด จ.จึงมีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดานับแต่นั้น
การทำละเมิดเป็นเหตุให้
จ. ถึงแก่ความตายย่อมทำให้ผู้คัดค้านซึ่งเป็นบิดาขาดไร้อุปการะ การยอมรับหรือบังคับตามคำชี้ขาดไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
ตามฎีกานี้
ผู้ร้องซึ่งเป็นบริษัทประกันภัย
ยื่นคำร้องต่อศาลขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดข้อพิพาทของอนุญาโตตุลาการ
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)
เพิ่มเติม
ฎีกาที่ ๔๑๐๕/๒๕๕๔
แม้ในขณะที่โจทก์ยื่นแบบขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพต่อสำ นักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ ๕ โจทก์ยังไม่มีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
ส. ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.๒๕๓๓ มาตรา ๗๗ จัตวา วรรคสอง (๑) แต่ต่อมาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางมีคำ พิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ
ส. ซึ่ง เป็นผู้ประกันตน และในขณะนั้นก่อนมี
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ๑๙) พ.ศ.๒๕๕๑ มาตรา ๖ ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายจึงยังคงมีผลนับแต่วันมีค่าพิพากษาถึงที่สุด
อันเป็นเวลาก่อนการพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ สิทธิของโจทก์ที่ขอจะรับบำเหน็จชราภาพกรณีผู้ประกันตนถึงแก่ความตายในฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ประกันตนจึงสมบูรณ์ก่อนคณะกรรมการอุทธรณ์มีคำ วินิจฉัยแล้ว
โจทก์ในฐานะทายาทจึงมีสิทธิได้รับบำ เหน็จชราภาพกรณี
ส. ผู้ประกันตนจึงแก่ความตาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๑๕๔๗
เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร
มาตรา ๑๕๕๗
การเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา ๑๕๔๗ ให้มีผลนับแต่วันที่เด็กเกิด
แต่ทั้งนี้จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำ การโดยสุจริตในระหว่างเวลาตั้งแต่เด็กเกิด
จนถึงเวลาที่บิดามารดาได้สมรสกันหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นบุตรไม่ได้
มาตรา ๑๕๖๓
บุตรจำ ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
0 Comments
แสดงความคิดเห็น