คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๖๒๓/๒๕๖๒
การที่จำเลยต้องคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้รับโทษจำคุกและไม่ได้ถูกคุมขัง
ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาโดยไม่ได้แสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาล
แม้อุทธรณ์ของจำเลยมิใช่อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการกระทำอันเป็นความผิด
ก็ต้องอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา ๑๙๘ วรรคสาม
ตามฎีกานี้ จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งฯ เมื่อวันที่ ๑๖
พฤศจิกายน ๒๕๖๑ บทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๙๘ วรรคสาม
แก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
(ฉบับที่ ๓๒) พ.ศ.๒๕๕๙ มีผลใช้บังคับแล้ว
เพิ่มเติม
หากจำเลยได้รับโทษจำคุก
แต่โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๕๖
หรือได้รับโทษจำคุกครบถ้วนตามคำพิพากษาแล้ว จำเลยไม่ต้องแสดงตัวในการอุทธรณ์
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
มาตรา ๑๙๘
วรรคสาม “ในกรณีที่ตามคำพิพากษาจำเลยต้องรับโทษจำคุกหรือโทษสถานที่หนักกว่านั้นและจำเลยไม่ได้ถูกคุมขัง
จำเลยจะยื่นอุทธรณ์ได้ต่อเมื่อแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาลในขณะยื่นอุทธรณ์ มิฉะนั้น
ให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ทั้งนี้ ประธานศาลฎีกาอาจออกข้อบังคับกำหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ และเงื่อนไขการแสดงตนของจำเลยก็ได้ ข้อบังคับนั้น เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
ความในวรรคสามมิให้ใช้บังคับแก่กรณีที่จำเลยได้รับการรอการลงโทษจำคุก หรือรับโทษจำคุกตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว”
0 Comments
แสดงความคิดเห็น