คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๗๒๙/๒๕๖๒
แม้ขณะจำเลยกระทำความผิดผู้ร้องจะยังไม่เป็นเจ้าของ กรรมสิทธิ์รถยนต์กระบะของกลาง
แต่ผู้ร้องในฐานะผู้เช่าซื้อเป็นผู้ครอบครองและใช้รถยนต์กระบะของกลางอย่างเจ้าของทั้งในเวลาต่อมาก่อนยื่นคำร้องขอคืนของกลางผู้ร้องได้ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว กรรมสิทธิ์ในรถยนต์กระบะของกลางย่อมตกแก่ผู้ร้องแม้ยังไม่มีการโอนทางทะเบียน
ซึ่งขณะนั้นคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ภาค ๘ ยังไม่ถึงที่สุด
รถยนต์กระบะของกลางยังไม่ตกเป็นของแผ่นดิน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๕
ผู้ร้องจึงเป็นเจ้าของแท้จริงในขณะยื่นคำร้องที่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้คืนรถยนต์กระบะของกลางได้
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๓๖
บัญญัติให้ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงสามารถยื่นคำร้องขอคืนของกลางได้ภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด หมายความว่า
หนึ่งปีนับแต่เมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์หรือฎีกาแล้วไม่มีฝ่ายใดอุทธรณ์หรือฎีกา
เมื่อคดีที่จำเลยถูกฟ้องศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาในวันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๐
โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาและศาลอุทธรณ์ภาค
๘ มีคำพิพากษาในวันที่
๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๑ โจทก์ขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาถึงวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ แต่มิได้ยื่นฎีกา
คดีจึงถึงที่สุดในวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๑ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอคืนของกลางคดีนี้ ในวันที่ ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๐
จึงเป็นการยื่นคำร้องภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดแล้ว
ประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา ๓๖ ในกรณีที่ศาลสั่งให้รับทรัพย์สินตามมาตรา ๓๓ หรือ มาตรา ๓๔ ไปแล้ว หากปรากฏในภายหลังโดยคำเสนอของเจ้าของแท้จริงว่า ผู้เป็นเจ้าของแท้จริงมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิด ก็ให้ศาลสั่งให้คืนทรัพย์สิน ถ้าทรัพย์สินนั้นยังคงมีอยู่ในความครอบครองของเจ้าพนักงาน แต่คำเสนอของเจ้าของแท้จริงนั้นจะต้องกระทำต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันคำพิพากษาถึงที่สุด
0 Comments
แสดงความคิดเห็น