คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๘๗๔/๒๕๖๒
ข้อตกลงตามบันทึกข้อตกลงและหนังสือรับรองประกันภัยกำ หนดความคุ้มครอง คือ จำ เลยที่ ๔ ผู้รับประกันภัยตกลงจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนนามของจำ เลยที่ ๒ และที่ ๓
ผู้ค้ำประกันกับโจทก์ผู้ให้กู้สำหรับ จำ นวนเงินกู้ที่ค้างชำ ระเกินกว่าสองงวดติดต่อกันตามสัญญาค้ำประกันที่ตกลงกันไว้
(รวมดอกเบี้ย) และจำ เลยที่ ๑
ผู้กู้พ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกของผู้ให้กู้แล้ว ดังนั้นหนี้ซึ่งจำ เลยที่ ๒ และที่ ๓ ต้องรับผิดชำ ระแก่โจทก์ตามสัญญาค้ำประกันเป็นเงื่อนไขที่จำ เลยที่ ๔
จะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์ในนามจำ เลยที่
๒ และที่ ๓ เงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำ เลยที่ ๔ จึงมีลักษณะเป็นนิติกรรมสัญญาอย่างหนึ่ง ซึ่งจำ เลยที่ ๔
ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในเหตุอย่างอื่นในอนาคตหากมีการกระทำ อันเป็นการผิดสัญญาอันเป็นสัญญาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘๖๑ มิใช่ กรณีเมื่อเกิดวินาศภัยตามมาตรา ๘๖๙
ขึ้นจึงมิใช่สัญญาประกันวินาศภัย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติเกี่ยวกับการประกัน
วินาศภัยไว้ในลักษณะ ๒๐ หมวด ๒ และมีบัญญัติเกี่ยวกับอายุความ
ในการเรียกให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไว้เป็นการเฉพาะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘๘๒ วรรคหนึ่ง คือ ห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำ หนดสองปีนับแต่วันวินาศภัย แต่ในกรณีของสัญญาประกันภัยในเหตุแห่งการผิดสัญญาอันเป็นเรื่องในอนาคต
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ
๑๐ ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๙๓/๓๐
โดยนับแต่เวลาผู้เอาประกันอาจใช้สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยได้ตามมาตรา
๑๙๓/๑๒
โจทก์ฎีกาขอให้จำ เลยที่ ๔ ร่วมรับผิดกับจำ เลยที่ ๑ ถึงที่ ๓ ตามคำ พิพากษาศาลชั้นต้น เป็นคดีที่มีคำ ขอปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำ นวณเป็นราคาได้ ซึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาเพียง
๒๐๐ บาท มิใช่ตามจำ นวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้อง
เพิ่มเติม
สัญญาประกันภัยเป็นนิติกรรมที่ไม่มีแบบ
ฎีกาที่ ๕๑๓๓/๒๕๔๒ สัญญาประกันภัย
กฎหมายมิกำหนดแบบแห่งนิติกรรมไว้
เพียงแต่บังคับให้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด
หรือตัวแทนเป็นสำคัญ มิฉะนั้นจะฟ้องร้องบังคับคดีมิได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา ๘๖๑
อันว่าสัญญาประกันภัยนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน
หรือใช้เงินจำนวนหนึ่งให้ในกรณีวินาศภัยหากมีขึ้น
หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดังได้ระบุไว้ในสัญญา และในการนี้บุคคลอีกคนหนึ่งตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า
เบี้ยประกันภัย
มาตรา ๘๖๙ อันคำว่า “วินาศภัย” ในหมวดนี้ ท่านหมายรวมเอาความเสียหายอย่างใด ๆ บรรดาซึ่งจะพึงประมาณเป็นเงินได้
0 Comments
แสดงความคิดเห็น